สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน)

ผลงาน

มาดูกันว่า Big data สามารถเอาไปใช้ในด้านการเงิน การลงทุนได้อย่างไร บทความนี้จะยกตัวอย่างถึงการนำ Big data ไปใช้กับข้อมูลจริงของทางกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ(กบข.) ซึ่ง GBDi ทำโมเดล (XGBoost) เพื่อวิเคราะห์ว่าสมาชิกกบข.คนไหนที่มีโอกาสจะมาออมเงินเพิ่ม และส่งเสริมให้มีสมาชิกมาลงทุนในกองทุน (pension fund) ที่มากยิ่งขึ้น

ข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยามีผลต่อการวางแผนในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย บทความนี้จะยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้ข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยาสำหรับการวางแผนการเพาะปลูกข้าวนาน้ำฝน การวางแผนสำหรับการท่องเที่ยว รวมทั้งการเฝ้าระวังในการเดินเรืออีกด้วย กรมอุตุนิยมวิทยา ร่วมกับ GBDi ในการนำข้อมูล Big Data ทางอุตุนิยมวิทยาของกรมอุตุฯ มาประยุกต์ใช้ เพื่อนำเสนอข้อมูลการพยากรณ์อากาศให้เกิดประโยชน์ต่อภาคส่วนต่าง ๆ โดยในระยะเริ่มต้น GBDi ให้การสนับสนุนกรมอุตุฯในด้านการทำ Data

หนี้สาธารณะ (Public Debt) คืออะไร? การบริหารหนี้สาธารณะมีโครงสร้าง ขั้นตอน และสิ่งที่ต้องพิจารณาอย่างไร? ในบทความนี้ เรามาดูตัวอย่างการประยุกต์ใช้ Data Science กับการบริหารหนี้สาธารณะเพื่อให้ภาครัฐรักษาเสถียรภาพทางการคลังกันครับ 🙂 “หนี้สาธารณะ” คืออะไร? รัฐบาลของทุก ๆ ประเทศมีหน้าที่ในการบริหารจัดการงบประมาณภายในประเทศเพื่อพัฒนาประเทศ ตั้งแต่การสร้างถนนและระบบคมนาคม การเยียวยาผู้ประสบปัญหาภัยพิบัติ

สวัสดีครับท่านผู้อ่าน ก่อนอื่นต้องขอแนะนำตัวก่อนนะครับ ผมณัฐ ณัฐภัทร เนียวกุล ปัจจุบันเป็นผู้จัดการโครงการข้อมูลเปิดเผยเพื่อความโปร่งใสของบริษัท แฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด เราทำงานโดยมีความตั้งใจเพื่อส่งเสริมความโปร่งใสให้เกิดขึ้นในสังคม สร้างระบบนิเวศน์ของการ ต่อต้านคอร์รัปชัน และเชื่อมโยงทุกภาคส่วนในสังคมที่ทำงานในเรื่องนี้เข้ามาทำงานร่วมกัน  ทุกท่านคงทราบดีว่า ปัญหาคอร์รัปชัน เป็นปัญหาที่เราพูดซ้ำวนเวียนมานานว่า แก้ไม่ได้สักที แม้ว่าเราจะพยายามทำยุทธศาสตร์ชาติ ออกกฎหมาย เขียนกฎหมายใหม่ก็หลายต่อหลายครั้ง

ปัจจุบันมีนักวิจัยและนักประดิษฐ์มากมายทำงานกันอย่างหนักเพื่อสร้างผลงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ หลายครั้งผลงานเหล่านี้หากเป็นผลงานใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน สามารถนำไปสู่การขอสิทธิบัตร (Patent) ได้ โดยสิทธิบัตรนั้นถือเป็นเครื่องแสดงทรัพย์สินทางปัญญารูปแบบหนึ่งที่ให้ความคุ้มครองการประดิษฐ์ ไม่ให้ผู้อื่นใดทำการลอกเลียนหรือจำหน่ายสิ่งประดิษฐ์นั้นๆ หากยังอยู่ในระยะเวลาการคุ้มครอง กรมทรัพย์สินทางปัญญา นำโดย กองสิทธิบัตร เป็นหน่วยงานหลักที่มีภารกิจในการกำกับและให้บริการจดทะเบียนสิทธิบัตร โดยมีการตรวจสอบคำขอรับสิทธิบัตรที่ยื่นเข้ามาใหม่ว่ามีความซ้ำซ้อนหรือใกล้เคียงกับผลงานหรือสิ่งประดิษฐ์ที่มีมาก่อนหน้านี้หรือไม่ ซึ่งกระบวนการตรวจสอบนี้อาจต้องใช้เจ้าหน้าที่ที่มีประสบการณ์ในการแยกความแตกต่างของรายละเอียดการประดิษฐ์ รวมถึงอาจต้องใช้เวลาในการอ่านค่อนข้างมาก กระบวนการตรวจสอบคำขอรับสิทธิบัตรแบบเดิม เดิมทีนั้นการตรวจสอบคำขอรับสิทธิบัตรสามารถทำได้โดยผ่านการสืบค้นด้วยคำค้นหาผ่านระบบสืบค้นข้อมูลสิทธิบัตรออนไลน์ (Search Patent System)

ด้วยเป้าหมายในการพัฒนาชีวิตและความเป็นอยู่ของเกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรได้รู้จักและเข้าใจดินในพื้นที่ของตนเอง ผ่านคำแนะนำในการจัดการดินที่เหมาะสมและรวดเร็วโดยอาศัยความเชี่ยวชาญของบุคคลากรจากกรมพัฒนาที่ดิน เพื่อให้บรรลุผลดังกล่าวทางกรมฯ จึงเปิดรับเกษตรกรที่สนใจหรือต้องการรับความช่วยเหลือผ่านโครงการที่ชื่อว่า “บัตรดินดี” บัตรดินดี: บัตรประจำตัวแปลงเกษตร บัตรดินดี หรือชื่อเต็มๆ ว่า “โครงการบริหารจัดการดินเชิงรุกแก่เกษตรกรรายแปลงผ่านบัตรดินดี” เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อดูแลเกษตรกรผู้ถือบัตรดินดี ให้ได้รับการบริการด้านดินอย่างใกล้ชิด ประมวลผลปัญหาการเกษตรในเบื้องต้น พร้อมทั้งให้คำแนะนำการจัดการดิน โดยกรมพัฒนาที่ดินได้มีการรวบรวมคลังข้อมูลดินของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการจัดการข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพ ในการนี้ทางกรมพัฒนาที่ดินได้ร่วมมือกับ GBDi