Envi Link พร้อมคณะวิจัย สกสว. ลงพื้นที่เชียงใหม่ ร่วมหารือเร่งแก้ฝุ่น-ไฟป่า

Envi Link พร้อมคณะวิจัย สกสว. ลงพื้นที่เชียงใหม่ ร่วมหารือเร่งแก้ฝุ่น-ไฟป่า

ทีม Envi Link จาก สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน) หรือ BDI นำโดย ดร.พีรดล สามะศิริ ผู้จัดการโครงการและนักวิทยาศาสตร์อาวุโส และ ดร.ปฏิภาณ แสงเดือน นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล ในฐานะนักวิจัยโครงการพัฒนาระบบบัญชีข้อมูล และต้นแบบการบูรณาการและใช้ประโยชน์ข้อมูลเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการปัญหาฝุ่น PM 2.5 ร่วมลงพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อร่วมประชุมหารือ ติดตาม และรายงานความก้าวหน้า รวมไปถึงรับฟังโจทย์ปัญหาและความต้องการจากผู้ว่าราชการ รองผู้ว่าราชการ และเจ้าหน้าที่ส่วนราชการในจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.) และหน่วยงานบูรณาการ เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาหมอกควัน ฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM 2.5 และปัญหาไฟป่าในพื้นที่ ผ่านผลงานวิจัยและนวัตกรรม การประชุมครั้งนี้จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) โดยกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ร่วมกับจังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 18-19 พฤษภาคม 2567

BDI เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อแก้ปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 โดยการจัดทำบัญชีข้อมูลที่ใช้สนับสนุนการบริหารจัดการปัญหาฝุ่น PM 2.5 รวมไปถึงการวางแนวทางเชื่อมโยงข้อมูลจากทุกภาคส่วนที่ครอบคลุมข้อมูลทุกมิติ ทั้งข้อมูลระดับประเทศ เช่น สถานการณ์ฝุ่น และมลพิษทางอากาศ ข้อมูลอุตุนิยมวิทยาและสภาพพื้นที่ จุดความร้อน ที่เป็นต้นเหตุของปัญหาในปัจจุบัน การใช้เชื้อเพลิงและการขออนุญาตเผาพื้นที่ และข้อมูลระดับพื้นที่/จังหวัด อันเป็นขั้นตอนสำคัญแรกของการประยุกต์นำเทคโนโลยี Big Data มาใช้ให้การบูรณาการข้อมูลระหว่างหน่วยงานเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม อันจะส่งเสริมการแลกเปลี่ยนข้อมูลและใช้ข้อมูลร่วมกันระหว่างหน่วยงาน โดยผนึกกำลังร่วมกับหน่วยงาน ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน), สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน), สถาบันวิจัยและพัฒนา พื้นที่สูง (องค์การมหาชน), สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) และกรมควบคุมมลพิษ

ทั้งนี้การนำเทคโนโลยี Big Data จะช่วยให้ข้อมูลที่มีทั้งหมดสามารถแก้ไขปัญหาไฟป่า ลดการเกิดการเผาไหม้ซ้ำ ๆ  และสามารถนำข้อมูลไปจัดทำแผนและมาตรการต่าง ๆ ในการลดฝุ่น PM 2.5


การลงพื้นที่ จ.เชียงใหม่ ในครั้งนี้เป็นการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมในระบบ กองทุน ววน. มาร่วมขับเคลื่อนและแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 ในพื้นที่นำร่อง จ.เชียงใหม่ เนื่องจากเป็นเมืองที่สำคัญในมิติเศรษฐกิจ สังคม และการท่องเที่ยวของประเทศ อีกทั้งยังอยู่ภายใต้เป้าหมายของการนำวิจัยเข้าไปตอบโจทย์ปัญหาที่กำลังเผชิญและต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน อย่างปัญหาหมอกควัน ฝุ่นพิษ PM 2.5 และปัญหาไฟป่า โดยมีเป้าหมายลดวิกฤตเมืองที่มีค่ามลพิษติดอันดับโลก ให้กลับสู่ภาวะปกติ ที่เอื้อต่อการอยู่อาศัย การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ความเป็นเมืองท่องเที่ยวยอดนิยมของประเทศ พร้อมส่งเสริมให้เป็นเมืองที่ใช้เทคโนโลยีบิ๊กดาต้าเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่

Public Relations and Communication Specialist

แบ่งปันข่าวนี้

ไอคอน PDPA

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ “นโยบายคุ้กกี้” และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ “ตั้งค่า”

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ BDI ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ BDI รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ BDI ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ BDI ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ BDI จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ BDI ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ BDI แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า
This site is registered on wpml.org as a development site. Switch to a production site key to remove this banner.