ChatGPT ใช้ยังไงให้ตอบโจทย์การทำงานของคนทำงานทุก Gen มากที่สุด

ChatGPT ใช้ยังไงให้ตอบโจทย์การทำงานของคนทำงานทุก Gen มากที่สุด

เชื่อว่าวันนี้ ChatGPT ได้กลายเป็นเครื่องมือทำงานที่คนทำงานจำนวนมากเลือกใช้ เนื่องจากความสามารถที่หลากหลาย ทั้งในด้านการตอบคำถาม และสร้างผลลัพธ์ต่าง ๆ ได้ตรงกับความต้องการด้วยคุณภาพในระดับเดียวกับที่มนุษย์ทำได้ จึงทำให้ ChatGPT ได้รับความนิยมอย่างสูง จนถูกนำไปใช้เป็นตัวเลือกที่คนทำงานทุกระดับในทุกสายงานใช้งานอย่างไม่จำกัด เพื่อเป็นผู้ช่วยให้เราทำงานออกมาได้ประสิทธิภาพและมีคุณภาพไปพร้อมกัน

การใช้ ChatGPT มีประโยชน์อะไบ้าง

อย่างที่เห็นว่าผู้ใช้งานสามารถนำ ChatGPT ไปใช้ได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นผู้ช่วยส่วนตัวในชีวิตประจำวัน และเป็นเครื่องมือช่วยเหลือในการทำงาน ซึ่งหากมองในมุมของการทำงาน การใช้ ChatGPT จะช่วยให้ธุรกิจได้ประโยชน์หลายอย่าง อย่างการลดต้นทุน เพราะ ChatGPT สามารถทำงานซ้ำแทนมนุษย์ได้ ช่วยให้องค์กรจัดสรรบุคลากรไปทำงานด้านอื่นที่มีความซับซ้อนมากกว่า

ChatGPT ยังสามารถทำงานได้ตลอดเวลา ช่วยให้ธุรกิจมีเครื่องมือเข้ามาช่วยสนับสนุนการทำงานนอกชั่วโมงการทำงานปกติ โดยเฉพาะงานด้านการบริการลูกค้าซึ่งเป็นส่วนงานที่จะต้อง ดำเนินการตลอดเวลา ซึ่ง ChatGPT สามารถรองรับข้อความจำนวนมาก และสร้างข้อมูลเพื่อตอบกลับลูกค้าได้ทันที ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการลูกค้า

และสุดท้ายคือการเป็นเครื่องมือที่ช่วยรวบรวมข้อมูลที่ลูกค้าติดต่อเข้ามา เพื่อให้องค์กรนำข้อมูลดังกล่าวมาสรุปเป็น Insights แล้วนำไปใช้ในการดำเนินงานด้านอื่น ๆ ต่อได้

นี่ก็คือประโยชน์ส่วนหนึ่งของการนำ ChatGPT มาใช้ในการทำธุรกิจโดยรวม โดยจากดูสถิติการใช้งานที่รวบรวมโดย Intelliarts บริษัทที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยี ระบุว่า ChatGPT ถูกนำไปใช้งานในหลายด้าน โดยมีงานที่ได้รับความนิยมมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่

  1. การเขียนโปรแกรม เช่น การเขียนโค้ด แก้บั๊ก และสร้างสคริปต์ 66%
  2. การสร้างเนื้อหา เช่น การเขียนบทความ รายงาน และเอกสารอื่น ๆ 58% 
  3. การบริการลูกค้า เช่น การช่วยตอบคำถาม 57% 

นอกจากนี้ หากมองลึกลงไปในรายละเอียดจะเห็นว่าในองค์กรมีพนักงานหลาย Generation ตั้งแต่ Baby Boomer ไปจนถึง Gen Z ซึ่งแต่ละช่วงอายุมีลักษณะการใช้งาน ChatGPT ที่ใกล้เคียงกันและแตกต่างกันตามตำแหน่งและลักษณะงานของตนเอง

ลองไปดูกันว่าพนักงานแต่ละ Generation มีการใช้ ChatGPT ในการทำงานอย่างไร เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและตอบโจทย์การทำงานในแต่ละวัน จากผลสำรวจของ Pew Research Center ในปี 2024

Baby Boomer

พนักงาน Baby Boomer คือกลุ่มคนที่เกิดระหว่างปี 1946 ถึง 1964 ซึ่งเป็นกลุ่มที่ไม่มีความถนัดในการใช้เทคโนโลยีเทียบเท่ากับคนรุ่นอื่น แต่สามารถเรียนรู้การใช้งานในเบื้องต้นได้ ทำให้ Baby Boomer เป็นกลุ่มคนที่ใช้ ChatGPT น้อยที่สุดด้วยสัดส่วน 6% โดยมีลักษณะการใช้งานหลักในการร่างเอกสารทางธุรกิจและค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ

Generation X 

พนักงาน Gen X คือกลุ่มคนที่เกิดระหว่างปี 1965 ถึง 1980 แม้จะไม่ได้เติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยี แต่ถ้าเรียนรู้การใช้งานก็สามารถใช้เทคโนโลยีในการทำงาน ซึ่งมีสัดส่วนการใช้งาน ChatGPT อยู่ที่ 17% โดยมีลักษณะการใช้งานหลักในการจัดตารางการทำงานให้กับคนในทีมและเขียนอีเมลติดต่อกับลูกค้า

Generation Y

พนักงาน Gen Y หรือที่เรียกอีกชื่อว่า Millennials คือกลุ่มคนที่เกิดระหว่างปี 1981 ถึง 1996 เป็นเจนเนอเรชั่นที่ผ่านการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีมาหลายอย่าง ทำให้สามารถปรับตัวได้เร็ว และมีสัดส่วนการใช้งาน ChatGPT อยู่ที่ 27% โดยมีลักษณะการใช้งานหลักในการจัดลำดับความสำคัญของงานและหาข้อมูลเพื่อเรียนรู้เรื่องใหม่ ๆ

Generation Z

พนักงาน Gen Z คือกลุ่มคนที่เกิดระหว่างปี 1997 ถึง 2012 ซึ่งเติบโตมาพร้อมกับการพัฒนาเทคโนโลยี ทำให้มีความคุ้นเคยและสามารถเรียนรู้วิธีการใช้งานได้เร็ว ทำให้เป็นกลุ่มที่สัดส่วนการใช้ ChatGPT มากที่สุดอยู่ที่ 43% โดยมีลักษณะการใช้งาน ChatGPT เพื่อคิดคอนเทนต์ลง Social Media และสรุปข้อมูลที่ตัวเองต้องการ

ขั้นตอนการใช้งาน ChatGPT

ChatGPT เป็นเครื่องมือที่ผู้ใช้งานสามารถเข้าไปได้ฟรี โดยมีขั้นตอนการใช้งาน 3 ข้อดังนี้

  1. เข้าไปเว็บไซต์เพื่อสร้างบัญชีผู้ใช้ฟรี

เริ่มแรกเราจะต้องเข้าไปที่เว็บไซต์ chatgpt.com เพื่อสร้างบัญชีผู้ใช้ ซึ่งผู้ใช้ฟรีจะสามารถดูประวัติการใช้งาน เขียน Prompt เพื่อสร้างรูปภาพ และอัปโหลดไฟล์ฟอร์แมตต่าง ๆ เพื่อให้ ChatGPT นำไปสร้างผลลัพธ์ให้

  1. รู้จักเครื่องมือการทำงาน

หลังจากที่เราสร้างบัญชีและล็อกอินเข้ามาแล้ว ก็จะพบกับหน้าต่างสนทนาที่จะประกอบไปด้วยแถบเครื่องมือและตัวเลือก ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

  • Sidebar เป็นแถบที่อยู่ด้านซ้ายของหน้าจอ ซึ่งใน Sidebar จะเป็นพื้นที่แสดง Chat History ที่เราใช้งาน และปุ่มกด “New Chat” เพื่อเริ่มการสนทนาใหม่
  • Chat History เป็นส่วนที่จะบันทึกประวัติการสนทนาของเราไว้หมด ซึ่งแต่ละแชทจะมี Options ให้ผู้ใช้สามารถแชร์การสนทนา เปลี่ยนชื่อแชท การทำ Archive แชท และลบแชท
  • ChatGPT Menu เป็นส่วนที่ผู้ใช้สามารถเลือกโมเดลภาษาตัวอื่นของ ChatGPT มาใช้ได้ ซึ่งผู้ใช้บัญชีฟรีจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อใช้ ChatGPT Plus 
  • Prompt คือคำถามหรือชุดคำสั่ง ที่ผู้ใช้ป้อนให้ ChatGPT ซึ่งจะปรากฎอยู่บนหน้าต่างสนทนา เมื่อผู้ใช้ส่งชุดคำสั่งไปแล้ว
  • ChatGPT’s Responses เมื่อ ChatGPT ส่งผลลัพธ์กลับมาให้ จะมีโลโก้ ChatGPT ปรากฎอยู่ที่ด้านซ้าย และใต้คำตอบจะมีตัวเลือกที่ผู้ใช้สามารถกดใช้ได้ ได้แก่ 
  • Read Aloud (ให้ AI อ่านออกเสียงให้) 
  • Copy (คัดลอกข้อความ)
  • Good Response และ Bad Response (เป็นการแสดงความรู้สึกว่าชอบหรือไม่ชอบผลลัพธ์) 
  • Regenerate (สร้างผลลัพธ์ใหม่)
  • Text Area คือช่องค้นหาที่ให้ผู้ใช้ป้อนคำสั่ง
  1. ป้อนชุดคำสั่งเพื่อใช้งาน

ถัดจากเครื่องมือก็มาถึงการใช้งานที่ผู้ใช้จะต้องป้อนคำสั่ง (Prompt) ให้ ChatGPT นำไปประมวลผล และสร้างผลลัพธ์ตอบกลับมา ซึ่งเราสามารถเขียน Prompt ได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับความต้องการ 

โดยมีตัวอย่าง Prompt แนะนำที่สามารถนำไปใช้เพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการทำงานสำหรับธุรกิจและองค์กรต่าง ๆ 4 ด้านด้วยกันดังนี้  

Prompt สำหรับงานด้านการบริหาร

  • “สร้างกลยุทธ์การใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อปรับปรุงการตัดสินใจทางธุรกิจใน [ชื่อบริษัท]”
  • “ออกแบบแผนการปรับเปลี่ยนธุรกิจสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) สำหรับ [ชื่อบริษัท] โดยคำนึงถึงความต้องการของลูกค้าและแนวโน้มอุตสาหกรรม”
  • “วิเคราะห์และเสนอแนะวิธีการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานร่วมกันระหว่างทีมต่าง ๆ ใน [ธุรกิจของเรา]”
  • “วิเคราะห์และเสนอแนะวิธีการสร้างความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร (Employee Engagement) ใน [ชื่อบริษัทของเรา]”
  • “ออกแบบแผนการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์สำหรับ [ธุรกิจของเรา] โดยเน้นการดึงดูดและรักษาพนักงานที่มีความสามารถ”

Prompt สำหรับงานด้านการวางแผนเชิงกลยุทธ์

  • “เสนอไอเดียในการ Rebrand บริษัท [ธุรกิจที่เราทำ] ที่ก่อตั้งมา 50 ปีให้เหมาะสมกับธุรกิจในปัจจุบัน”
  • “จำลองเป็นนักวางแผนเชิงกลยุทธ์ หากแบรนด์ต้องการเปลี่ยนชื่อใหม่ ควรวางกลยุทธ์อย่างไรให้คนสามารถจดจำชื่อใหม่ได้อย่างรวดเร็ว”
  • “วิเคราะห์ SWOT จากไอเดียการทำธุรกิจดังต่อไปนี้ [รายละเอียดของเรา]”
  • “จำลองเป็นนักวางแผนเชิงกลยุทธ์ แนะนำกลยุทธ์ในการเชิงพื้นที่สื่อจากคู่แข่งที่ได้เปรียบมากกว่า”
  • ระบุ [10] วิธีที่จะเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการในการผลิตสินค้า [ธุรกิจที่เราทำ] โดยใช้ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ AI

Prompt สำหรับงานด้านการบริการลูกค้า

  • “คิดวิธีการพูดเพื่อชวนลูกค้าที่ยังไม่รู้จักบริษัท ให้หันมาสนใจและรู้จักบริษัทของเรา”
  • “คิดคำตอบที่จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า ถ้าลูกค้าถามคำถามเกี่ยวกับสินค้าที่เราไม่รู้ข้อมูล”
  • “ระบุคำถามที่ลูกค้าถามบ่อยจากการใช้สินค้าของบริษัท [ธุรกิจที่เราทำ]”
  • “ร่างอีเมลขอโทษลูกค้า กรณีที่ลูกค้าได้รับบริการล่าช้าเป็นภาษาไทย”
  • “แนะนำวิธีพูดเพื่อเสนอโปรโมชั่นสินค้าให้ลูกค้า”

Prompt สำหรับงานด้านการตลาด

  • “สร้างข้อความโฆษณาบน Facebook ให้มีประสิทธิภาพ”
  • “เสนอความคิดการทำ Content แบบเจ๋ง ๆ”
  • “ช่วยหา 10 Keyword เกี่ยวกับ [สิ่งที่เราต้องการ] เพื่อนำมาเขียนโพสต์ขายสินค้า”
  • “คิดหัวข้อสำหรับโฆษณาบน Facebook”
  • “สรุปเทรนด์การทำ Content บน Instagram”

นี่คือแนวทางการใช้งาน ChatGPT เบื้องต้นที่สามารถนำไปปรับใช้ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะเห็นได้ว่า ChatGPT เป็น AI ที่มีความสามารถหลากหลาย ตอบโจทย์การใช้งานของทุกช่วงวัย ไม่ว่าคุณจะอยู่ในวัยใดหากเรียนรู้วิธีใช้ให้ถูกต้อง ChatGPT จะกลายเป็นเครื่องมือทรงพลังที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้อย่างรวดเร็วและเกิดประโยชน์สูงสุด

แหล่งอ้างอิง

https://backlinko.com/chatgpt-stats#key-chatgbt-stats
https://nypost.com/2024/11/25/lifestyle/shocking-88-of-gen-z-uses-ai-to-do-their-jobs-for-them-poll
https://zapier.com/blog/how-to-use-chatgpt/#what
https://www.business.com/technology/chatgpt-usage-workplace-study
https://www.bitcot.com/how-chat-gpt-will-change-your-business/#1_Improved_Customer_Experience
https://www.hrdive.com/news/chatgpt-usage-at-work-doubled/706127
https://www.zdnet.com/article/how-to-use-chatgpt

ไอคอน PDPA

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ “นโยบายคุ้กกี้” และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ “ตั้งค่า”

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ BDI ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ BDI รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ BDI ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ BDI ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ (Functional Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ BDI จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ BDI ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ BDI แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า
This site is registered on wpml.org as a development site. Switch to a production site key to remove this banner.