มาใช้ diagram อธิบายการทำงานของระบบต่าง ๆ กันเถอะ

หากเราจะอธิบายการทำงานของระบบบางอย่างให้คนอื่นเข้าใจได้ง่าย ๆ คงหนีไม่พ้นการทำ diagram ที่สามารถแสดงให้เห็นถึงกระบวนการของระบบ ขั้นตอนการทำงาน หรือเห็นแต่ละกลุ่มที่มีหน้าที่ในระบบนั้น ๆ diagram ที่เราจะนำมาพูดถึงในวันนี้คือ sequence diagram และ activity diagram ทั้งสองเป็น diagram ที่มีวัตถุประสงค์ในการแสดงพฤติกรรมการทำงานของระบบ สามารถเห็นภาพรวมของระบบหรือกระบวนการของงานได้ง่ายขึ้น ตัวอย่างระบบการทำงานที่สามารถใช้ diagram เช่น การทำงาน/การคำนวณค่าบางอย่าง หรือ ระบบที่มีการเรียกใช้งานระบบส่วนอื่น ๆ เพื่อทำงานอะไรบางอย่าง sequence diagram และ activity diagram ทั้งสองอย่างนี้เป็นส่วนหนึ่งของ Unified Modeling Language (UML) คือเป็นภาษาภาพที่มีมาตรฐานกลางที่ใช้ในการอธิบายระบบ เพื่อให้เกิดความเข้าใจแก่ผู้ออกแบบกับโปรแกรมเมอร์ หรือฝั่งที่เกี่ยวกับ business ส่วนใหญ่จะถูกใช้ในบริบทเกี่ยวกับการพัฒนาซอฟต์แวร์ แต่ก็สามารถใช้อธิบายระบบต่าง ๆ เพื่อให้คนทำงานทั่วไปเข้าใจได้เช่นกัน Activity diagram เป็น diagram ที่แสดงถึง workflow กิจกรรมของระบบ แสดงขั้นตอนการทำงานหนึ่งไปสู่อีกอันหนึ่ง โดยวิธีการเขียนจะต้องมีจุดเริ่มต้น-จุดสิ้นสุด และมีกิจกรรมต่าง […]
เทคนิคการสังเกตรูปภาพหรือวิดีโอใบหน้าที่ถูกดัดแปลงด้วยเทคโนโลยี DeepFake

เทคโนโลยี “DeepFake” ได้ถูกนิยามในปี พ.ศ. 2560 เมื่อนักวิจัยได้เริ่มนำโครงข่ายประสาทเทียมเชิงลึก (Deep Neural Networks) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีทางปัญญาประดิษฐ์สมัยใหม่มาปรับใช้กับการตกแต่งรูปภาพหรือวีดิโอใบหน้าเพื่อเปลี่ยนแปลงการแสดงสีหน้า ท่าทาง หรือแม้แต่คำพูด ในปัจจุบันเทคโนโลยี DeepFake ได้ถูกพัฒนาไปอย่างรวดเร็วจนทำให้ระบบมีความยืดหยุ่นและสามารถตัดต่อรูปภาพและวีดีโอใบหน้าได้โดยง่าย โดยที่ DeepFake สมัยใหม่นั้นต้องการเพียงแค่รูปภาพใบหน้าตรงเพียง 1 ภาพในการดัดแปลงรูปภาพและตัดต่อวีดิโอ และแม้แต่แอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือก็สามารถทำได้ โดยวิดีโอที่ถูกดัดแปลงนั้นยังมีความสมจริงจนทำให้การตรวจสอบความถูกต้องของวิดีโอนั้นเป็นไปได้ยาก ซึ่งความสมจริงของวีดิโอเหล่านี้ทำให้เกิดความกังวลต่อความน่าเชื่อถือของสื่อดิจิทัลมากขึ้น โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่มีกลุ่มมิจฉาชีพได้พยายามหลอกหลวงประชาชนด้วยรูปแบบต่าง ๆ เราอาจได้เห็นข่าวที่มิจฉาชีพเริ่มนำเอาเทคโนโลยี DeepFake มาปลอมเป็นตำรวจเพื่อหลอกให้เหยื่อโอนเงินมากขึ้น ดังนั้นการตระหนักและรู้เท่าทันถึงความก้าวหน้าของเทคโนโลยี DeepFake จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างมากในยุคปัจจุบัน ทีมวิจัยจาก mit meadia lab ได้ตั้งข้อเสนอแนะสำหรับเทคนิคในการสังเกตรูปภาพหรือวิดีโอที่ถูกดัดแปลงด้วยเทคโนโลยี DeepFake ไว้ดังนี้ นอกจากข้อสังเกตเหล่านี้แล้ว นักวิจัยทั่วโลกเองก็ยังได้ให้ความสนใจกับการพัฒนาเทคโนโลยีทางปัญญาประดิษฐ์เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลรูปภาพและวิดีโอมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น เราสามารถใช้แอปพลิเคชันของ deepware ซึ่งเป็นเว็บแอปพลิเคชันแบบฟรีสำหรับการตรวจสอบวิดีโอ DeepFake เบื้องต้นได้อีกด้วย อย่างไรก็ตามความสามารถของการตรวจสอบข้อมูลวิดีโอ DeepFake แบบอัตโนมัติด้วยแบบจำลองทางปัญญาประดิษฐ์เองก็ยังมีข้อจำกัด จากผลการทดสอบของแบบจำลองกว่า 35,000 ชิ้นปรากฎว่าแบบจำลองที่ดีที่สุดสามารถทำนายผลความถูกต้องของข้อมูลวิดีโอ DeepFake ได้เพียงแค่ 65 […]
การแก้ปัญหาข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้างด้วย NLP และโมเดลภาษาหนึ่งในกลยุทธ์ AI ขององค์กร

ในบทความแขกรับเชิญพิเศษนี้ ประภท สุนการะ (Prabhod Sunkara) ผู้ร่วมก่อตั้งและ COO ของบริษัท nRoad, Inc. ได้พูดถึงเรื่องของการที่องค์กรต่าง ๆ พึ่งพาข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้างมากขึ้นเพื่อจุดประสงค์ในการวิเคราะห์ กำกับดูแล และทำการตัดสินใจในระดับองค์กร โดย nRoad เป็นแพลตฟอร์มที่สร้างมาเพื่อการประมวลผลภาษาธรรมชาติ (NLP) สำหรับข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้างในส่วนการบริการทางด้านการเงินและเป็นบริษัทแรกที่ประกาศ “สงครามกับการทำงานแบบใช้เอกสาร” ก่อนจะมี nRoad ประภทดำรงตำแหน่งผู้นำหลากหลายตำแหน่งในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การปฏิบัติการ และ Solution Architecture (ตำแหน่งงานที่หาทางออกของปัญหาต่าง ๆ) เขามี Passion ในการสร้าง AI Solutions ที่เน้นผลลัพธ์ ซึ่งเขาก็ได้ประสบความสำเร็จในการปรับปรุงกระบวนการต่าง ๆ ของบริษัทการเงินระดับโลกมากมายเช่น Bank of America, Merrill Lynch, Morgan Stanley และ UBS ข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้างหรือ Unstructured Data คือ ข้อมูลเชิงลึกที่มีอยู่แพร่หลายในทั่วทุกองค์กร แต่ข้อมูลเหล่านั้นไม่โปร่งใสหรือไม่สามารถใช้งานได้เสมอไป เรื่องนี้จึงยังคงเป็นความท้าทายสำคัญด้านธุรกิจ […]
ข้อมูลเปิดเพื่อการต่อต้านคอร์รัปชัน

สวัสดีครับท่านผู้อ่าน ก่อนอื่นต้องขอแนะนำตัวก่อนนะครับ ผมณัฐ ณัฐภัทร เนียวกุล ปัจจุบันเป็นผู้จัดการโครงการข้อมูลเปิดเผยเพื่อความโปร่งใสของบริษัท แฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด เราทำงานโดยมีความตั้งใจเพื่อส่งเสริมความโปร่งใสให้เกิดขึ้นในสังคม สร้างระบบนิเวศน์ของการ ต่อต้านคอร์รัปชัน และเชื่อมโยงทุกภาคส่วนในสังคมที่ทำงานในเรื่องนี้เข้ามาทำงานร่วมกัน ทุกท่านคงทราบดีว่า ปัญหาคอร์รัปชัน เป็นปัญหาที่เราพูดซ้ำวนเวียนมานานว่า แก้ไม่ได้สักที แม้ว่าเราจะพยายามทำยุทธศาสตร์ชาติ ออกกฎหมาย เขียนกฎหมายใหม่ก็หลายต่อหลายครั้ง มีองค์กรต่าง ๆ ที่เข้ามามีบทบาทในเรื่องนี้ แต่ก็ยังทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร โดยเฉพาะเมื่อมีการจัดอันดับ ดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชัน (Corruption Perceptions Index; CPI) ย้อนหลังไปเป็น 10 ปี คะแนนประเทศไทยก็ไม่ค่อยขยับไปไหน แต่อันดับที่เราได้ เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ กลับลดลงเรื่อย ๆ การจะรับมือ และจัดการกับปัญหาคอร์รัปชัน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนมุมมองใหม่เพื่อหาวิธีการ และเครื่องมือใหม่ ๆ เข้ามาช่วย “ข้อมูล” จึงเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุด เพราะข้อมูลจะมีส่วนช่วยทั้งภาครัฐและภาคประชาชน ให้เกิดความเข้าใจร่วมกันว่า ต่างฝ่ายต่างมองเห็นสิ่งที่อีกฝ่ายกำลังทำอยู่ ปิดบังซ้อนเร้นไม่ได้ (ในเงื่อนไขที่ว่าข้อมูลภาครัฐถูกเปิดเผยทั้งหมด) จากการศึกษาของคณะทำงาน G20 Anti-Corruption […]