10 อันดับเทรนด์เทคโนโลยีในปี 2563

10 อันดับเทรนด์เทคโนโลยีในปี 2563

27 March 2020

“เรากำลังอยู่ในยุคของการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาด้านเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเทคโนโลยีด้านการคำนวณบนคลาวด์, ปัญญาประดิษฐ์, บล็อกเชน, และข้อมูลอัจฉริยะ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยเร่งสำคัญในด้านเศรษฐกิจดิจิทัล”

เจฟ จาง หัวหน้าสถาบันดาโม (Damo Academy) ในเครืออาลีบาบา และประธานอาลีบาบาคลาวด์อินเทลลิเจนซ์

“นอกเหนือจากการสำรวจความไม่รู้ผ่านงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแล้ว เรากำลังร่วมงานกับภาคอุตสาหกรรมเพื่อฟูมฟักการประยุกต์ใช้นวัตกรรมเข้ากลับหลากหลายอุตสาหกรรม และทำให้เทคโนโลยีสามารถเข้าถึงได้สำหรับภาคธุรกิจและสังคมในวงกว้าง”

สถาบันดาโมในเครืออาลีบาบาได้ทำนายและจัดอันดับ 10 อันดับแรกของเทคโนโลยีที่น่าจับตามองในปี 2563 เอาไว้ดังนี้

ปัญญาประดิษฐ์จะเกิดพัฒนาการจากความสามารถในการรับรู้ (perception) สู่ความสามารถในการเข้าใจ (cognition)

ถึงแม้ปัญญาประดิษฐ์จะถูกพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วจนมีความสามารถเทียบเท่ามนุษย์ในด้านการรับรู้ อาทิ การแปลงเสียงพูดเป็นข้อความ การประมวลผลภาษาธรรมชาติ ความเข้าใจในภาพวิดีโอ ฯลฯ แต่ในด้านการทำความเข้าใจ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความรู้พื้นหลัง ความคิดตรรกะ หรือการบูรณาการความรู้ข้ามศาสตร์ ยังเป็นสิ่งที่ปัญญาประดิษฐ์ยังไม่สามารถเทียบเท่ามนุษย์ได้  การพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ให้มีความสามารถเชิงความรู้ความเข้าใจจำเป็นต้องอาศัยศาสตร์หลากหลายด้านรวมถึง จิตวิทยาการรับรู้ (cognitive psychology), วิทยาศาสตร์สมอง (brain science) รวมไปถึง ประวัติศาสตร์สังคมมนุษยชาติ (human social history) ควบคู่ไปกับเทคนิคทางด้านกราฟโดเมน (cross-domain knowledge graph), การอนุมานเหตุผล (causality inferance) และการเรียนรู้ต่อเนื่อง (continuous learning) เพื่อสร้างกระบวนการที่จะช่วยให้เครื่องจักรสามารถเข้าใจและทำการย่อยความรับรู้ อันจะเป็นหนึ่งในขั้นตอนสำคัญในการก้าวข้ามยุคสมัยของปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถรับรู้ (perceptual intelligence) ให้เข้าสู่ยุคเครื่องจักรที่สามารถเข้าใจ (cognitive intelligence) ได้

การคำนวณบนหน่วยความจำเป็นอีกหนึ่งความท้าทายในเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์

การออกแบบหน่วยความจำและหน่วยประมวลผลแยกออกจากกันตามสถาปัตยกรรมทางคอมพิวเตอร์ที่ถูกออกแบบโดย Von Neumann ดังที่ใช้อยู่ในปัจจุบันทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายข้อมูลไปมาระหว่างสองหน่วย ด้วยการพัฒนาของอัลกอริธึมด้านปัญญาประดิษฐ์อย่างก้าวกระโดด การพัฒนาการของฮาร์ดแวร์ที่ไม่รวดเร็วเท่าทำให้เกิดปรากฏการณ์คอขวดในการประมวลผลข้อมูลจนทำให้การประมวลผลทำได้ช้าโดยเฉพาะเมื่อต้องประมวลผลอัลกอริธึมที่ใช้ทรัพยากรสูง เพื่อก้าวข้ามข้อจำกัดดังกล่าวจึงมีการออกแบบหน่วยประมวลผลและหน่วยความจำในลักษณะใหม่ที่รวบทั้งสองหน่วยเข้าไว้ด้วยกัน (In-memory-computing) ลดภาระในการเคลื่อนย้ายข้อมูลระหว่างสองหน่วย และทำให้การประมวลผลสามารถทำได้รวดเร็วขึ้น

การปฏิวัติอินเตอร์เน็ตของสิ่งของ (IoT)

ความก้าวหน้าในเทคโนโลยี 5g, อินเตอร์เน็ตของสิ่งของ (internet of things: IoT), การคำนวณบนคลาวด์ (cloud computing) และการคำนวณบนเครื่องปลายทาง (edge computing) ในปี 2020 จะเร่งให้เกิดการหลอมรวมของระบบสารสนเทศ ระบบการสื่อสาร และระบบควบคุมอุตสาหกรรม  โดยในด้านของความก้าวหน้าของอินเตอร์เน็ตของสิ่งของในภาคอุตสาหกรรมนั้น อุตสาหกรรมการผลิตจะเกิดการพัฒนาเครื่องจักรอัตโนมัติ ระบบโลจิสติกส์ภายในโรงงาน และการจัดตารางเวลาการผลิตที่แม่นยำและตอบสนองความต้องการของผู้ซื้อมากขึ้น นอกจากนี้ การเชื่อมโยงระหว่างระบบอุตสาหกรรมยังทำให้การควบคุมปริมาณการผลิตของอุตสาหกรรมต้นน้ำและปลายน้ำมีความสอดคล้องกันมากยิ่งขึ้น อันจะช่วยเพิ่มกำลังการผลิตและผลกำไรของอุตสาหกรรมเหล่านี้มากขึ้น

การทำงานร่วมกันระหว่างเครื่องจักรในระดับใหญ่เข้าใกล้ความเป็นจริงมากขึ้น

เครื่องจักรอัจฉริยะเชิงเดี่ยวดังที่มีอยู่นั้นยังไม่สามารถประมวลผลและตัดสินใจได้อย่างฉับพลันรวมทั้งยังไม่สามารถขยายขนาดเพื่อครอบคลุมเครื่องจักรขนาดใหญ่ได้ อย่างไรก็ดี ด้วยพัฒนาการของเทคโนโลยีการทำงานสอดประสานของเซ็นเซอร์ในระบบอินเตอร์เน็ตของสิ่งของ ประกอบกับเทคโนโลยีการสื่อสาร 5G จะทำให้การทำงานสอดประสานกันในระบบขนาดใหญ่เป็นจริงขึ้นได้ ระบบดังกล่าวรวมถึงการทำงานสอดประสานและแข่งกันระหว่างหน่วยย่อยของเครื่องจักรเพื่อให้บรรลุเป้าหมายหลักของการทำงานที่วางไว้ เครื่องจักรอัจฉริยะหรือปัญญาประดิษฐ์เชิงกลุ่มอันเกิดจากการควบรวมของปัญญาประดิษฐ์เดี่ยวหลายชิ้นจะช่วยเพิ่มมูลค่าของระบบปัญญาประดิษฐ์ ยกตัวอย่างเช่น ระบบไฟจราจรอัจฉริยะที่รับข้อมูลการจราจรที่เกิดขึ้นจริงและสามารถควบคุม ปรับแปลง การให้สัญญาณที่จะช่วยลดความคับคั่งของรถยนต์บนท้องถนน หรืออาจเป็นระบบหุ่นยุนต์ในโกดังสินค้าที่สามารถจัดเรียงสินค้าและพัสดุได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงระบบการขับขี่อัตโนมัติที่สามารถตรวจจับสภาพการจราจร สภาพท้องถนนตามเวลาจริง แม้แต่การส่งสินค้าด้วยระบบโดรนที่จะสามารถประมวลผลร่วมระหว่างกันเพื่อให้การส่งสินค้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

การออกแบบเชิงโมดูลจะช่วยให้การประมวลผลของชิพง่ายและเร็วขึ้น

การออกแบบชิพในปัจจุบันนั้นเน้นการการออกแบบเพื่อให้ทำงานได้อย่างครอบคลุมหลายการทำงาน ทว่าการออกแบบเช่นนี้ไม่มีประสิทธิภาพมากพอที่จะตอบสนองความต้องการชิพที่สามารถทำงานได้หลากหลาย แต่เฉพาะด้าน การออกแบบชิพในลักษณะที่ควบรวมวงจรบนแผงชิพ (system of chip: SoC) ผ่านโอเพ่นซอร์สที่พัฒนาจาก RISC-V, คำอธิบายภาษาฮาร์ดแวร์ระดับสูง และการออกแบบโมดูลที่อิงตามไอพี ช่วยให้เกิดการพัฒนาการผลิตชิพอย่างก้าวกระโดดและเสริมสร้างระบบนิเวศน์การพัฒนาชิพ นอกจากนี้การออกแบบเชิงโมดูลที่รวบชิพขนาดเล็กยังใช้ความก้าวหน้าด้านบรรจุภัณฑ์เพื่อบรรจุชิพขนาดเล็กที่ทำงานหลากหลายส่วนเข้ามาไว้ด้วยกัน การออกแบบเช่นนี้ช่วยให้สามารถผลิตชิพที่ตรงกับความต้องการที่หลากหลายของผู้ใช้และสอดคล้องกับความต้องการการใช้งานที่หลากหลายมากขึ้น

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนในระดับใหญ่จะเป็นที่สนใจในระดับกว้าง

บริการผ่านเทคโนโลยีบล็อกเชน (blockchain-as-a-service: BaaS) จะช่วยให้แต่ละองค์กรสามารถนำเอาเทคโนโลยีบล็อกเชนไปใช้งานได้ง่ายขึ้น ฮาร์ดแวร์ชิพหลากหลายประเภทที่ควบรวมอัลกอริธึมต่างๆ ที่ถูกประมวลผลบนเครื่องจักรปลายทาง บนคลาวด์ ผ่านการออกแบบโดยเฉพาะสำหรับบล็อกเชนจะถูกพัฒนาขึ้น อันจะช่วยให้เกิดการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้ตอบโจทย์ในโลกของความเป็นจริงมากขึ้น ประกอบกับช่วยขยายเขตแดนและเพิ่มคุณค่าของอินเตอร์เน็ตและการเชื่อมต่อผ่านพหุห่วงโซ่ เกิดการผลักดันให้เกิดนวัตกรรมด้านการประยุกต์ใช้บล็อกเชนในหลากมิติของความร่วมมือระหว่างอุตสาหกรรมและระบบนิเวศน์ในอนาคต การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนขนาดใหญ่กว่า 10 ล้านชิ้นส่วน (daily active items: DAI) จะถูกนำไปใช้ในวงกว้าง

จุดเปลี่ยนสำคัญที่จะนำไปสู่การคำนวณเชิงควอนตัมขนาดใหญ่ (large-scaled quantum computing)

ในปีที่แล้ว การแข่งขันเพื่อการพิสูจน์ศักยภาพของการคำนวณเชิงควอนตัมที่เหนือกว่าการคำนวณผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป ได้ดึงสปอตไลต์กลับมายังการเทคโนโลยีการคำนวณเชิงควอนตัม ความสามารถในการสาธิตควอนตัมคอมพิวเตอร์ผ่านวงจรความนำยิ่งยวดได้ดึงความมั่นใจในความเป็นไปได้ในการผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ควอนตัมขนาดใหญ่ให้กลับมา สิ่งนี้ทำให้นักลงทุนกลับมาให้ความสนใจในเทคโนโลยีดังกล่าวอีกครั้งหนึ่งอันจะนำไปสู่การขยายขีดความสามารถในการแข่งขันงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีควอนตัมให้เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้เรายังอาจเห็นการพัฒนาเชิงอุตสาหกรรมของเทคโนโลยีควอนตัมซึ่งจะค่อยๆ นำไปสู่การสร้างระบบนิเวศน์ควอนตัม สำหรับก้าวถัดไปในปีหน้านั้นจะเป็นการสร้างคอมพิวเตอร์ควอนตัมที่ทนทานต่อความผิดพลาด (fault-tolerant) และการสาธิตข้อได้เปรียบของการใช้เทคโนโลยีควอนตัมแก้ไขปัญหาในโลกแห่งความเป็นจริงแทนเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั่วไป

วัสดุชนิดใหม่จะปฏิวัติอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

ภายใต้ปัจจัยของทั้งทางกฎของมัวร์ (Moore's Law) และอุปสงค์ที่เพิ่มสูงขึ้นทั้งในด้านกำลังคำนวณและปริมาณพื้นที่เก็บข้อมูล สิ่งนี้ทำให้อุตสาหกรรมทรานซิสเตอร์ซิลิกาที่ใช้กันโดยทั่วไปในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบันเผชิญความท้าทายด้านเทคโนโลยีที่สำคัญ การผลิตชิพที่มีขนาดเล็กกว่า 3 นาโนเมตรยังดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้บนพื้นฐานของเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบัน จุดเปลี่ยนสำคัญที่จะทำให้สามารถก้าวข้ามขีดจำกัดนี้ได้จำเป็นต้องอาศัยวัสดุชนิดใหม่ที่มีกลไกทางกายภาพในแบบเหนือกว่าที่เป็นอยู่ ตัวอย่างเทคโนโลยีวัสดุที่อาจเป็นไปได้อาจเป็น ฉนวนทอพอโลยี, วัสดุตัวนำยิ่งยวดในสองมิติ ฯลฯ หรือวัสดุอื่นใดที่อิเล็กตรอนสามารถเคลื่อนที่ได้โดยปราศจากการสูญเสีย หรือการพัฒนาการใช้ประโยชน์จากการหมุนของอิเล็กตรอนแทนการเคลื่อนที่ ในขณะที่ในส่วนของการพัฒนาพื้นที่เก็บข้อมูลแถบแม่เหล็กความสามารถสูง (อาทิ SOT-MRAM) นั้นจำเป็นต้องอาศัยวัสดุแม่เหล็กและวัสดุต้านการเปลี่ยนแปลงชนิดใหม่

การพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เพื่อรักษาความเป็นส่วนตัวด้านข้อมูล

การรักษาความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวด้านข้อมูลกำลังถูกให้ความตระหนักมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากการออกระเบียบและกฎหมายเพื่อคุ้มครองและควบคุมในเรื่องของการถ่ายโดนข้อมูลที่เพิ่มสูงขึ้น ในอีกด้านหนึ่งนั้น การพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เพื่อใช้คุ้มครองความเป็นส่วนตัวด้านข้อมูลกำลังถูกให้ความสนใจ ในสาระสำคัญคือให้ผู้ใช้ข้อมูลสามารถประมวลผลฟังก์ชั่นบนข้อมูลที่มาจากหลายเจ้าของข้อมูลซึ่งช่วยให้ข้อมูลเหล่านี้ไม่สามารถถูกบ่งชี้ที่มาได้ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เช่นนี้จะช่วยแก้ปัญหาข้อมูลเชิงตั้ง (data silos) และปัญหาการขาดความเชื่อมั่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ในขณะเดียวกันจะช่วยสกัดเอาคุณค่าของข้อมูลให้เกิดประโยชน์

คลาวด์จะเป็นศูนย์กลางของนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

การพัฒนาเทคโนโลยีการคำนวณบนคลาวด์อย่างต่อเนื่องทำให้คลาวด์กลายเป็นมากกว่าแค่โครงสร้างพื้นฐานของเทคโนโลยีสารสนเทศ แต่ค่อยๆ กลายศูนย์กลางของทุกนวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ คลาวด์มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับแทบทุกเทคโนโลยี อาทิ ชิพ, ฐานข้อมูล, เครือข่ายที่ปรับเปลี่ยนได้ด้วยตัวเอง, บิ๊กดาต้า, ปัญญาประดิษฐ์, อินเตอร์เน็ตของสิ่งของ, บล็อกเชน, การคำนวณเชิงควอนตัม และอื่นๆ อีกมากมาย ในขณะเดียวกัน คลาวด์ได้สร้างเทคโนโลยีชิ้นใหม่ๆ เช่น การคำนวณโดยไม่ใช้เซอร์ฟเวอร์, สถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์ที่ประมวลผลบนคลาวด์, การออกแบบควบรวมซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ รวมไปถึงปฏิบัติการอัตโนมัติอัจฉริยะ ด้วยเหตุนี้จะเห็นได้ว่าการคำนวณบนคลาวด์ช่วยสร้างคำนิยามใหม่ให้กับในแทบทุกเทคโนโลยีสารสนเทศ และทำให้เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถเข้าถึงได้โดยทั่วกัน และถือได้ว่าเป็นแกนโครงสร้างหลักสำคัญของเศรษฐกิจดิจิทัล

ที่มา: https://www.dqindia.com/10-leading-tech-trends-artificial-intelligence-will-evolve-coming-year/

แบ่งปันบทความ

กลุ่มเนื้อหา

แท็กยอดนิยม

แจ้งเรื่องที่อยากอ่าน

คุณสามารถแจ้งเรื่องที่อยากอ่านให้เราทราบได้ !
และเราจะนำไปพัฒนาบทความให้มีเนื้อหาที่น่าสนใจมากขึ้น

PDPA Icon

We use cookies to optimize your browsing experience and improve our website’s performance. Learn more at our Privacy Policy and adjust your cookie settings at Settings

Privacy Preferences

You can choose your cookie settings by turning on/off each type of cookie as needed, except for necessary cookies.

Accept all
Manage Consent Preferences
  • Strictly Necessary Cookies
    Always Active

    This type of cookie is essential for providing services on the website of the Personal Data Protection Committee Office, allowing you to access various parts of the site. It also helps remember information you have previously provided through the website. Disabling this type of cookie will result in your inability to use key services of the Personal Data Protection Committee Office that require cookies to function.
    Cookies Details

  • Performance Cookies

    This type of cookie helps the Big Data Institute (Public Organization) understand user interactions with its website services, including which pages or areas of the site are most popular, as well as analyze other related data. The Big Data Institute (Public Organization) also uses this information to improve website performance and gain a better understanding of user behavior. Although the data collected by these cookies is non-identifiable and used solely for statistical analysis, disabling them will prevent the Big Data Institute (Public Organization) from knowing the number of website visitors and from evaluating the quality of its services.

  • Functional Cookies

    This type of cookie enables the Big Data Institute (Public Organization)’s website to remember the choices you have made and deliver enhanced features and content tailored to your usage. For example, it can remember your username or changes you have made to font sizes or other customizable settings on the page. Disabling these cookies may result in the website not functioning properly.

  • Targeting Cookies

    "This type of cookie helps the Big Data Institute (Public Organization) understand user interactions with its website services, including which pages or areas of the site are most popular, as well as analyze other related data. The Big Data Institute (Public Organization) also uses this information to improve website performance and gain a better understanding of user behavior. Although the data collected by these cookies is non-identifiable and used solely for statistical analysis, disabling them will prevent the Big Data Institute (Public Organization) from knowing the number of website visitors and from evaluating the quality of its services.

Save settings
This site is registered on wpml.org as a development site. Switch to a production site key to remove this banner.