Thailand

Thailand

ข่าวและบทความที่เกี่ยวข้อง

Related news and articles

PostType Filter En

บทความ

Health Link ลุยออกบูทสร้างการรับรู้ ในงาน Thailand HealthCare 2025 ขานรับนโยบาย “30 บาทรักษาทุกที่”
26 – 29 มิถุนายน 2568, กรุงเทพฯ – โครงการ Health Link ภายใต้สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน) หรือ BDI เข้าร่วมออกบูทในงาน Thailand HealthCare 2025 ระหว่างวันที่ 26 – 29 มิถุนายน 2568 ณ สามย่านมิตรทาวน์ เพื่อนำเสนอแพลตฟอร์มเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพระหว่างสถานพยาบาลทั่วประเทศ ที่มีเป้าหมายในการยกระดับคุณภาพการรักษา ลดความซ้ำซ้อนในการรับบริการ และส่งเสริมระบบสุขภาพที่เข้าถึงได้สำหรับทุกคน  ทั้งนี้ในโอกาสพิธีเปิดงานเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2568 นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด และได้เยี่ยมชมบูทของหน่วยงานต่าง ๆ รวมถึงบูทของ BDI โดยมี นพ.ธนฤต จินตวร ผู้บริหารกิจการพิเศษ สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ และ นางสาวน้ำฝน ประโพธิ์ศรี  ผู้อำนวยการโครงการ Health Link ให้การต้อนรับ พร้อมนำเสนอแนวทางการดำเนินงานของโครงการ การเข้าร่วมงานในครั้งนี้ สะท้อนถึงภารกิจของ BDI ในการร่วมขับเคลื่อนระบบสุขภาพไทยด้วยข้อมูลและเทคโนโลยีดิจิทัล ตอบสนองนโยบายรัฐบาลในการสร้างระบบบริการสุขภาพที่เชื่อมโยง ครอบคลุม และมีประสิทธิภาพ สอดรับนโยบาย “30 บาทรักษาทุกที่” ด้วยเพียงบัตรประชาชนใบเดียว
26 June 2025

บทความ

BDI จับมือพันธมิตร ลุยพัฒนา ThaiLLM โมเดลภาษาไทย จุดประกายคอมมูนิตี้ AI ไทย
19 มิถุนายน 2568, กรุงเทพมหานคร – สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน) หรือ BDI โดย นายปฏิภาณ ประเสริฐสม ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูล ร่วมเป็นวิทยากรแลกเปลี่ยนมุมมองบนเวทีเสวนา “Thai LLM: AI Powered Search Engine เพื่อการบูรณาการข้อมูล ววน.” ภายในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2568 (Thailand Research Expo 2025) ร่วมกับ ดร.เทพชัย ทรัพย์นิธิ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ, ผศ. ดร.รัชฎา คงคะจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดี ฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ ดร.ณิฎา เด่นไพศาล หัวหน้าฝ่ายทรัพยากรการเรียนรู้สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ   นายปฏิภาณ กล่าวว่า โครงสร้างพื้นฐานปัญญาประดิษฐ์สำหรับภาษาไทย (ThaiLLM) เป็นความร่วมมือระหว่างหน่วยงานพันธมิตรผู้เชี่ยวชาญระดับประเทศ โดยได้รับการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ การพัฒนา ThaiLLM ไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของการพัฒนาโมเดลปัญญาประดิษฐ์เท่านั้น แต่เป็นภารกิจร่วมในการรวบรวมคลังข้อมูลภาษาไทยให้ครอบคลุมมากที่สุด ทั้งจากอินเทอร์เน็ตและเอกสารจากหน่วยงานราชการ เพื่อใช้ในการฝึกสอนโมเดลให้เข้าใจภาษาไทย และบริบทของสังคมไทยได้อย่างแท้จริง พร้อมทั้งจะมีการเปิดให้ใช้งานแบบ Open source หรือ Open license เพื่อให้ภาครัฐ เอกชน นักวิจัย และผู้ประกอบการสามารถนำไปปรับใช้หรือต่อยอดได้โดยเป็นทางเลือกให้ผู้ใช้นอกเหนือจากโมเดลจากต่างประเทศ ผู้แทน BDI กล่าวเพิ่มเติมว่า หากประเทศไทยไม่มีโครงสร้างพื้นฐาน AI ของตนเอง การพัฒนาด้านเทคโนโลยีของผู้ประกอบการไทยนั้น ย่อมต้องพึ่งพาโมเดลและเครื่องมือจากต่างประเทศ ทั้งในด้านเทคนิค การจัดการข้อมูล และการกำกับดูแล ซึ่งอาจกลายเป็นข้อจำกัดในอนาคต การพัฒนา ThaiLLM จึงเป็นช่องทางสำคัญเพื่อช่วยเพิ่มความสามารถในการพึ่งพาตัวเองของไทย และผลักดันการพัฒนา AI ที่เข้าใจบริบทของประเทศไทยได้ นอกจากนี้แนวทางการเผยแพร่แบบโอเพ่นซอร์สจะช่วยลดต้นทุนการเข้าถึงสำหรับสำหรับนักพัฒนาและผู้ประกอบการรายย่อย เปิดโอกาสให้ สตาร์ทอัพ มหาวิทยาลัย และนักวิจัย สามารถนำโมเดลไปใช้งานหรือฝึกสอนต่อได้ เพิ่มโอกาสในการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ  นอกจากนี้ยังถือเป็นโอกาสในการสร้างทักษะบุคลากรไทยอย่างรอบด้าน เปิดเวทีให้คนไทยได้เรียนรู้ ฝึกใช้ เทรน และ deploy AI จริงในระบบงาน ขับเคลื่อนการสร้างคอมมูนิตี้และระบบนิเวศ AI ที่ยั่งยืนในประเทศได้
19 June 2025

บทความ

BDI ร่วมประชุม Thailand Zero Dropout เสนอแนวทางการจัดการข้อมูลเด็กและเยาวชน เพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาเชิงระบบ
5 มิถุนายน 2568, กรุงเทพมหานคร – รศ. ดร.ธีรณี อจลากุล ผู้อำนวยการสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ มอบหมายให้ ดร.ประภาพรรณ วิภาตวิทย์ ผู้จัดการทีมวิจัยและนวัตกรรม ฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม พร้อมด้วย ดร.พีรดล สามะศิริ ผู้จัดการโครงการและนักวิเคราะห์ข้อมูลอาวุโส และนายอมร โชคชัยศิริภักดี ผู้จัดการโครงการและนักวิเคราะห์ข้อมูล ฝ่ายบริการวิเคราะห์ข้อมูล เข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมการจัดการศึกษาและเรียนรู้แบบยืดหยุ่นและมีคุณภาพเพื่อขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาให้กลายเป็นศูนย์ (Thailand Zero Dropout) ครั้งที่ 2/2568 โดยมี ดร.ณหทัย ทิวไผ่งาม ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมฯ พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 301 ชั้น 3 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ในการนี้ผู้แทน BDI ได้นำเสนอแนวทางการบูรณาการข้อมูลระหว่างหน่วยงานผ่านแพลตฟอร์มการเชื่อมโยงและวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ ดีทู (Data Integration and Intelligence Platform: DII) เพื่อทำหน้าที่บูรณาการและเชื่อมโยงข้อมูลที่มีอยู่แล้วจากหลายภาคส่วน รวมถึงการให้บริการวิเคราะห์ข้อมูลบนแพลตฟอร์มโดยทีมนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลของ BDI เพื่อสนับสนุนการวางแผนเชิงนโยบายที่มีประสิทธิภาพ และขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็น Data-Driven Nation อย่างแท้จริง ทั้งนี้ BDI เข้ามามีบทบาทในการวางระบบโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการเชื่อมโยงข้อมูล สำหรับเด็กและเยาวชนซึ่งเป็นเป้าหมายของโครงการ Thailand Zero-dropout ซึ่งถือเป็นกลุ่มเปราะบาง ข้อมูลส่วนบุคคลกลุ่มนี้จำเป็นต้องถูกกำกับดูแลอย่างรัดกุมเพื่อคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของข้อมูล ตามกำหนดในพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงต้องมีมาตรการบริหารจัดการข้อมูล (Data Management) ที่ครอบคลุม ทั้งในส่วนของการรับ-ส่งข้อมูล และการแบ่งปันข้อมูล (Data Sharing) ไปจนถึงการมีมาตรการความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่เพียงพอ ทั้งนี้ ยังมีความยืดหยุ่นและสามารถปรับให้เข้ากับรูปแบบและแนวทางเฉพาะของแต่ละหน่วยงานที่เป็นผู้ให้ข้อมูลได้ อันประกอบด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากหลากหลายภาคส่วน ทั้งกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา หน่วยงานภายใต้กระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานอื่นๆ ที่แม้ไม่ได้เป็นหน่วยงานที่มีข้อมูลการศึกษาของเด็กโดยตรง แต่มีข้อมูลบริบทที่เกี่ยวข้องกับตัวเด็ก เช่น ข้อมูลผู้ปกครอง ข้อมูลสุขภาพ การเพิ่มศักยภาพในการใช้งานข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างครอบคลุมทั่วทุกด้าน จะช่วยให้สามารถทำความเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างถ่องแท้ อันจะเป็นรากฐานสำคัญในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาเด็กนอกระบบการศึกษาอย่างยั่งยืนในระยะยาวต่อไป
5 June 2025

บทความ

BDI เผยตลาด “Big Data & AI” ไทย ย้อนหลัง 2 ปี มูลค่ากว่า 3.78 หมื่นล้านบาท กลุ่มบริการด้านข้อมูลขนาดใหญ่ครองมาร์เก็ตแชร์สูงสุด เร่งระบบนิเวศเติบโต ผ่าน 4 แนวทาง พลิกโฉมประเทศสู่ Data Driven Nation
18 มีนาคม 2568, กรุงเทพฯ – สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน) หรือ BDI ร่วมกับ บริษัท ไอเอ็มซี เอ้าท์ซอร์สซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ IMC เผยผลสำรวจวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (Environmental Scanning) ด้านอุตสาหกรรม Big Data และ AI ในประเทศไทยย้อนหลัง 2 ปี พบว่ามูลค่ารวมสูงถึง 37,814 ล้านบาท โดยกลุ่มอุตสาหกรรมครองแชมป์ส่วนแบ่งตลาด (Market Share) สูงสุดได้แก่ Big Data Services คิดเป็นร้อยละ 52.7 ของมูลค่ารวมทั้งหมด สะท้อนถึงความต้องการบริการวิเคราะห์และจัดการข้อมูลเชิงลึกที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ด้านกำลังคน พบประเทศไทยมีบุคลากรในอุตสาหกรรม Big Data และ AI รวมกว่า 32,000 คน ชี้มูลค่าตลาดยังมีแนวโน้มเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 7-8 ต่อปี พร้อมแนะ 4 แนวทางส่งเสริมตลาด Big Data และ AI สู่การวางรากฐานที่แข็งแกร่งสำหรับอนาคต ภายใต้แผนยุทธศาสตร์หลักระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2568 -2570) โดยมุ่งเน้นการผลักดันองค์กรและหน่วยงานให้เร่งนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เป็นแต้มต่อทางธุรกิจ เสริมศักยภาพการแข่งขัน และขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างเป็นรูปธรรม รศ. ดร.ธีรณี อจลากุล ผู้อำนวยการสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ กล่าวว่า รายงานการสำรวจวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (Environmental Scanning) ด้านอุตสาหกรรมข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในประเทศไทย จัดทำขึ้นเพื่อสะท้อนภาพรวม แนวโน้ม และทิศทางการพัฒนาเทคโนโลยี ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้ประกอบการทั้งรายใหญ่และรายย่อย เพื่อนำ Big Data และ AI ไปใช้ให้เกิดมูลค่าสูงสุด ทั้งในมิติการวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจ การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน หรือการต่อยอดโอกาสทางการตลาด โดยผลสำรวจจะเป็นแนวทางสำคัญในการให้ภาครัฐใช้กำหนดแนวนโยบาย และมาตรการสนับสนุนที่สอดคล้องกับความต้องการของอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมเสริมสร้างความพร้อมการนำเทคโนโลยี AI และ Big Data ซึ่งเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและพัฒนาสังคมดิจิทัลให้เติบโตในระยะยาว การสำรวจครั้งนี้ครอบคลุมกลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบการทั้งในกลุ่มอุตสาหกรรม Big Data และ AI กว่า 264 รายทั่วประเทศ มีการแบ่งหมวดหมู่ผู้ประกอบการออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ การจำแนกตามประเภทธุรกิจหรือภารกิจ และจำแนกตามประเภทเทคโนโลยี ซึ่งจากผลสำรวจ พบว่า มูลค่าตลาดรวมอยู่ที่ 37,814 ล้านบาท โดย Big Data Services ครองสัดส่วนสูงสุดที่ 19,923 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 52.7 ของมูลค่ารวมทั้งหมด สะท้อนถึงแนวโน้มธุรกิจในไทยให้ความสนใจและใช้บริการวิเคราะห์ข้อมูล ขณะที่รองลงมา คือ Big Data / AI Software มีมูลค่า 8,057 ล้านบาท ตามมาด้วย ด้าน AI Services มีมูลค่า 5,160 ล้านบาท และ Big Data / AI Hardware มีมูลค่า 4,674 ล้านบาท นอกจากนี้ BDI ได้ขยายการสำรวจเบื้องต้นไปยังด้านแรงงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม Big Data และ AI ระหว่างเดือนสิงหาคม – ธันวาคม 2567 พบว่า มีบุคลากรรวมกว่า 32,000 คน ซึ่งแรงงานที่อยู่ในสายเทคโนโลยีสารสนเทศประมาณ 16,000 คน แบ่งออกเป็นพนักงานด้าน Big Data ประมาณ 14,500 คน และพนักงานด้าน AI ประมาณ 700 คน ขณะที่ตำแหน่ง Big Data / AI / IT Project Manager มีเพียงประมาณ 800 คน สะท้อนให้เห็นถึงช่องว่างของบุคลากรระดับบริหารที่มีความเชี่ยวชาญด้านข้อมูล และความต้องการทักษะด้าน Data Science และ Data Engineering ที่ยังขาดแคลน ซึ่งอาจเป็นข้อจำกัดการเติบโตของอุตสาหกรรมนี้ในระยะยาว รศ. ดร.ธีรณี กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้ยังได้มีการคาดการณ์อัตราการเติบโตของอุตสาหกรรม Big Data และ AI ในประเทศไทย เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 7-8 ต่อปี สะท้อนถึงความตื่นตัวของตลาด และศักยภาพของผู้ประกอบการในการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน อย่างไรก็ดี ยังประเมินว่าประเทศไทยยังมีพื้นที่และโอกาสสำหรับการเติบโตของอุตสาหกรรม Big Data และ AI โดยต้องเร่งปรับตัวและสร้างระบบนิเวศของอุตสาหกรรมให้เติบโตผ่าน 4 แนวทางดังต่อไปนี้ · การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล – ผ่านการขยายโครงสร้างฯ ที่แข็งแกร่ง อาทิ เครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และ Data Center ที่มีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งการลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ ๆ ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการจัดการข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ · การพัฒนาทรัพยากรบุคคล – โดยต้องเร่งเตรียมความพร้อมรับมือกับการขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญด้าน Big Data และ AI ผ่านการจัดเตรียมหลักสูตรในการศึกษาและฝึกอบรม รวมถึงการสนับสนุนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง · การส่งเสริมการใช้งานเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในภาคธุรกิจ – ซึ่งต้องผลักดันภาคธุรกิจในการใช้งาน Big Data และ AI เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างมูลค่าเพิ่ม ผ่านการฝึกอบรมและให้การสนับสนุนทางการเงิน เพื่อยกระดับให้ธุรกิจไทยปรับตัวและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดได้ · การสร้างกรอบกฎหมายและนโยบายที่ชัดเจน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนและผู้ใช้บริการ ป้องกันปัญหาด้านความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูล พร้อมทั้งสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยี การสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา จะช่วยเร่งการเติบโตของอุตสาหกรรม Big Data และ AI “BDI ในฐานะองค์กรหลักในการขับเคลื่อนประเทศด้วยข้อมูลขนาดใหญ่ มุ่งมั่นผลักดันการใช้ Big Data และ AI ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในระดับประเทศ พร้อมเดินหน้าแผนยุทธศาสตร์ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2568-2570) ภายใต้วิสัยทัศน์ Data-Driven Nation โดยมุ่งส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ Big Data...
18 March 2025

บทความ

คัมภีร์การทำแผนที่บน MS Power BI ฉบับประเทศไทย The Cartographic Bible for MS Power BI, Thailand Edition
การวิเคราะห์ข้อมูลภูมิศาสตร์และตำแหน่งที่ตั้งเป็นสิ่งที่สำคัญต่อการตัดสินใจในธุรกิจของหลายภาคส่วน การแสดงผลแผนที่แบบอินเตอร์แอคทีฟเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยให้เราสามารถแสดงข้อมูลตำแหน่งในรูปแบบแผนที่ได้อย่างสะดวก และช่วยให้เราสามารถเข้าใจแนวโน้มของข้อมูลที่ซับซ้อนได้ง่ายขึ้น
19 May 2023
PDPA Icon

We use cookies to optimize your browsing experience and improve our website’s performance. Learn more at our Privacy Policy and adjust your cookie settings at Settings

Privacy Preferences

You can choose your cookie settings by turning on/off each type of cookie as needed, except for necessary cookies.

Accept all
Manage Consent Preferences
  • Strictly Necessary Cookies
    Always Active

    This type of cookie is essential for providing services on the website of the Personal Data Protection Committee Office, allowing you to access various parts of the site. It also helps remember information you have previously provided through the website. Disabling this type of cookie will result in your inability to use key services of the Personal Data Protection Committee Office that require cookies to function.
    Cookies Details

  • Performance Cookies

    This type of cookie helps the Big Data Institute (Public Organization) understand user interactions with its website services, including which pages or areas of the site are most popular, as well as analyze other related data. The Big Data Institute (Public Organization) also uses this information to improve website performance and gain a better understanding of user behavior. Although the data collected by these cookies is non-identifiable and used solely for statistical analysis, disabling them will prevent the Big Data Institute (Public Organization) from knowing the number of website visitors and from evaluating the quality of its services.

  • Functional Cookies

    This type of cookie enables the Big Data Institute (Public Organization)’s website to remember the choices you have made and deliver enhanced features and content tailored to your usage. For example, it can remember your username or changes you have made to font sizes or other customizable settings on the page. Disabling these cookies may result in the website not functioning properly.

  • Targeting Cookies

    "This type of cookie helps the Big Data Institute (Public Organization) understand user interactions with its website services, including which pages or areas of the site are most popular, as well as analyze other related data. The Big Data Institute (Public Organization) also uses this information to improve website performance and gain a better understanding of user behavior. Although the data collected by these cookies is non-identifiable and used solely for statistical analysis, disabling them will prevent the Big Data Institute (Public Organization) from knowing the number of website visitors and from evaluating the quality of its services.

Save settings