Envi Link พร้อมคณะวิจัย สกสว. ลงพื้นที่เชียงใหม่ ร่วมหารือเร่งแก้ฝุ่น-ไฟป่า

Envi Link พร้อมคณะวิจัย สกสว. ลงพื้นที่เชียงใหม่ ร่วมหารือเร่งแก้ฝุ่น-ไฟป่า

ทีม Envi Link จาก สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน) หรือ BDI นำโดย ดร.พีรดล สามะศิริ ผู้จัดการโครงการและนักวิทยาศาสตร์อาวุโส และ ดร.ปฏิภาณ แสงเดือน นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล ในฐานะนักวิจัยโครงการพัฒนาระบบบัญชีข้อมูล และต้นแบบการบูรณาการและใช้ประโยชน์ข้อมูลเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการปัญหาฝุ่น PM 2.5 ร่วมลงพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อร่วมประชุมหารือ ติดตาม และรายงานความก้าวหน้า รวมไปถึงรับฟังโจทย์ปัญหาและความต้องการจากผู้ว่าราชการ รองผู้ว่าราชการ และเจ้าหน้าที่ส่วนราชการในจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.) และหน่วยงานบูรณาการ เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาหมอกควัน ฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM 2.5 และปัญหาไฟป่าในพื้นที่ ผ่านผลงานวิจัยและนวัตกรรม การประชุมครั้งนี้จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) โดยกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ร่วมกับจังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 18-19 พฤษภาคม 2567

BDI เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อแก้ปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 โดยการจัดทำบัญชีข้อมูลที่ใช้สนับสนุนการบริหารจัดการปัญหาฝุ่น PM 2.5 รวมไปถึงการวางแนวทางเชื่อมโยงข้อมูลจากทุกภาคส่วนที่ครอบคลุมข้อมูลทุกมิติ ทั้งข้อมูลระดับประเทศ เช่น สถานการณ์ฝุ่น และมลพิษทางอากาศ ข้อมูลอุตุนิยมวิทยาและสภาพพื้นที่ จุดความร้อน ที่เป็นต้นเหตุของปัญหาในปัจจุบัน การใช้เชื้อเพลิงและการขออนุญาตเผาพื้นที่ และข้อมูลระดับพื้นที่/จังหวัด อันเป็นขั้นตอนสำคัญแรกของการประยุกต์นำเทคโนโลยี Big Data มาใช้ให้การบูรณาการข้อมูลระหว่างหน่วยงานเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม อันจะส่งเสริมการแลกเปลี่ยนข้อมูลและใช้ข้อมูลร่วมกันระหว่างหน่วยงาน โดยผนึกกำลังร่วมกับหน่วยงาน ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน), สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน), สถาบันวิจัยและพัฒนา พื้นที่สูง (องค์การมหาชน), สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) และกรมควบคุมมลพิษ

ทั้งนี้การนำเทคโนโลยี Big Data จะช่วยให้ข้อมูลที่มีทั้งหมดสามารถแก้ไขปัญหาไฟป่า ลดการเกิดการเผาไหม้ซ้ำ ๆ  และสามารถนำข้อมูลไปจัดทำแผนและมาตรการต่าง ๆ ในการลดฝุ่น PM 2.5


การลงพื้นที่ จ.เชียงใหม่ ในครั้งนี้เป็นการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมในระบบ กองทุน ววน. มาร่วมขับเคลื่อนและแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 ในพื้นที่นำร่อง จ.เชียงใหม่ เนื่องจากเป็นเมืองที่สำคัญในมิติเศรษฐกิจ สังคม และการท่องเที่ยวของประเทศ อีกทั้งยังอยู่ภายใต้เป้าหมายของการนำวิจัยเข้าไปตอบโจทย์ปัญหาที่กำลังเผชิญและต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน อย่างปัญหาหมอกควัน ฝุ่นพิษ PM 2.5 และปัญหาไฟป่า โดยมีเป้าหมายลดวิกฤตเมืองที่มีค่ามลพิษติดอันดับโลก ให้กลับสู่ภาวะปกติ ที่เอื้อต่อการอยู่อาศัย การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ความเป็นเมืองท่องเที่ยวยอดนิยมของประเทศ พร้อมส่งเสริมให้เป็นเมืองที่ใช้เทคโนโลยีบิ๊กดาต้าเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่

Public Relations and Communication Specialist

Share This News

PDPA Icon

We use cookies to optimize your browsing experience and improve our website’s performance. Learn more at our Privacy Policy and adjust your cookie settings at Settings

Privacy Preferences

You can choose your cookie settings by turning on/off each type of cookie as needed, except for necessary cookies.

Accept all
Manage Consent Preferences
  • Strictly Necessary Cookies
    Always Active

    This type of cookie is essential for providing services on the website of the Personal Data Protection Committee Office, allowing you to access various parts of the site. It also helps remember information you have previously provided through the website. Disabling this type of cookie will result in your inability to use key services of the Personal Data Protection Committee Office that require cookies to function.
    Cookies Details

  • Performance Cookies

    This type of cookie helps the Big Data Institute (Public Organization) understand user interactions with its website services, including which pages or areas of the site are most popular, as well as analyze other related data. The Big Data Institute (Public Organization) also uses this information to improve website performance and gain a better understanding of user behavior. Although the data collected by these cookies is non-identifiable and used solely for statistical analysis, disabling them will prevent the Big Data Institute (Public Organization) from knowing the number of website visitors and from evaluating the quality of its services.

  • Functional Cookies

    This type of cookie enables the Big Data Institute (Public Organization)’s website to remember the choices you have made and deliver enhanced features and content tailored to your usage. For example, it can remember your username or changes you have made to font sizes or other customizable settings on the page. Disabling these cookies may result in the website not functioning properly.

  • Targeting Cookies

    "This type of cookie helps the Big Data Institute (Public Organization) understand user interactions with its website services, including which pages or areas of the site are most popular, as well as analyze other related data. The Big Data Institute (Public Organization) also uses this information to improve website performance and gain a better understanding of user behavior. Although the data collected by these cookies is non-identifiable and used solely for statistical analysis, disabling them will prevent the Big Data Institute (Public Organization) from knowing the number of website visitors and from evaluating the quality of its services.

Save settings
This site is registered on wpml.org as a development site. Switch to a production site key to remove this banner.