Digital Literacy ทักษะที่ขาดไม่ได้ในยุคที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี

Digital Literacy ทักษะที่ขาดไม่ได้ในยุคที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี

02 July 2025

เทคโนโลยีดิจิทัลได้กลายเป็นส่วนสำคัญของชีวิตประจำวันเราในทุกมิติ ช่วยให้การเข้าถึงข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็วและสะดวกสบายยิ่งขึ้น แต่เมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้าอย่างรวดเร็วจนเราอาจตามไม่ทัน หรือเกิดความผิดพลาดจากความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง สิ่งที่จำเป็นสำหรับทุกคนในฐานะพลเมืองดิจิทัล คือ Digital Literacy หรือ ทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด ไม่เพียงแต่ช่วยให้เราปรับตัวกับโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แต่ยังช่วยให้เราใช้งานเทคโนโลยีได้อย่างปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น

โดย Digital Literacy มีความสำคัญที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน 4 ด้านหลัก ได้แก่ ด้านการสื่อสาร ด้านการเรียนรู้ ด้านการทำงาน และด้านการเงิน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

ด้านการสื่อสาร

การสื่อสารออนไลน์ (Online Communication) ได้กลายเป็นส่วนสำคัญในชีวิตประจำวันและการดำเนินธุรกิจในยุคดิจิทัล การมีทักษะ Digital Literacy จะช่วยให้เราอยู่ในโลกออนไลน์ได้ปลอดภัยมากขึ้น เช่น

  • การใช้เครื่องมือสื่อสาร ช่วยให้เราสามารถเลือกใช้เครื่องมือได้เหมาะสมกับข้อความที่ต้องการสื่อออกไป เช่น ใช้ LINE ในการพูดคุยเรื่องส่วนตัว และใช้ Zoom ในการประชุมออนไลน์
  • มีความรับผิดชอบ ช่วยให้เราเข้าใจถึงผลกระทบและการรับผิดชอบต่อผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้นจากการโพสต์และการแสดงความคิดเห็นของเราบนโลกออนไลน์
  • การประเมินความน่าเชื่อถือ ช่วยให้เราสามารถประเมินความน่าเชื่อของแหล่งข้อมูลว่าเชื่อถือได้หรือไม่ เพื่อป้องกันไม่ให้แชร์ข้อมูลผิดออกไป
ด้านการเรียนรู้

ถ้าเราอยากรู้อะไร การค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตถือเป็นช่องทางแรกที่เรานึกถึง เพราะมีความสะดวกและรวดเร็ว การมีทักษะ Digital Literacy จึงมีความสำคัญต่อการเรียน ทั้งกับตัวผู้สอนและผู้เรียน เช่น

  • เข้าถึงข้อมูลได้หลากหลาย ช่วยให้ผู้เรียนค้นหาข้อมูลที่ตัวเองต้องการเจอจากแหล่งข้อมูลจำนวนมาก และประเมินได้ว่าข้อมูลแหล่งไหนมีความน่าเชื่อถือ นำไปใช้งานได้
  • พัฒนาสื่อการเรียน ช่วยให้ผู้สอนใช้เครื่องมือในการสร้างสื่อการเรียนรูปแบบต่าง ๆ ที่ดึงดูดความสนใจของผู้เรียนได้ เช่น คลิปวิดีโอ การจำลองสถานการณ์ และการสร้าง Gamification
  • การเรียนทางไกลสะดวกขึ้น ช่วยให้สถาบันการศึกษาจัดการเรียนออนไลน์ ผ่านการนำระบบจัดการการเรียนรู้มาเป็นแพลตฟอร์มให้ผู้สอนจัดการเรียนทางไกลได้
ด้านการทำงาน

องค์กรสมัยใหม่มีการนำซอฟต์แวร์เข้ามาใช้ในการทำงานหลายตัว เพราะช่วยให้การทำงานรวดเร็วและวัดผลลัพธ์ได้ชัดเจน ซึ่งการมีทักษะ Digital Literacy จะเข้ามาช่วยให้พนักงานได้ประโยชน์หลายอย่าง ยกตัวอย่างเช่น

  • เพิ่ม Productivity ในการทำงาน ช่วยให้พนักงานใช้งานเครื่องมือบริหารการทำงานเป็น เพื่อให้การจัดการงานง่ายขึ้น เช่น Trello และ Asana
  • การประสานงานง่ายขึ้น ช่วยให้พนักงานใช้งานแพลตฟอร์มการทำงาน เพื่อทำงานร่วมกับพนักงานคนอื่นได้ เช่น Microsoft 365 และ Google Workspace
  • มีความพร้อมในการปรับตัว ช่วยให้พนักงานรู้จักเครื่องมือใหม่ ๆ ได้เร็วขึ้น และเรียนรู้เพื่อนำมาใช้งานได้ ช่วยให้องค์กรมีศักยภาพในการแข่งขัน
ด้านการเงิน

การทำธุรกรรมทางการเงินในปัจจุบันเป็นอีกกิจกรรมที่หลายคนหันไปทำผ่านแอปพลิเคชั่นบนโทรศัพท์เพราะทำได้ง่ายและประหยัดเวลา ซึ่งการมี Digital Literacy จะช่วยให้เราได้ประโยชน์ด้านการเงิน เช่น

  • การเข้าถึงบริการทางการเงิน ช่วยให้เราใช้บริการการเงินออนไลน์ของธนาคาร และทำธุรกรรมได้ ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายเงิน โอนเงิน และการดูยอดรวมในบัญชี
  • การวางแผนการเงิน ช่วยให้เราใช้แอปพลิเคชั่นจัดการงบประมาณ เพื่อติดตามค่าใช้จ่ายของเรา และตั้งเป้าหมายการออม
  • การลงทุน ช่วยให้เราเข้าถึงแพลตฟอร์มการลงทุน เพื่อศึกษาข้อมูลและความเสี่ยงของการลงทุนในรูปแบบต่าง ๆ ก่อนตัดสินใจลงทุน

เมื่อเราเข้าใจถึงความสำคัญของ Digital Literacy ที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันแล้ว อีกเรื่องที่ต้องมีความเข้าใจเช่นกัน คือหลักการของ Digital Literacy ซึ่งเป็นรากฐานของการใช้ชีวิตและทำงานด้วยเทคโนโลยีอย่างแท้จริง

หลักการสำคัญของ Digital Literacy

Digital Literacy แบ่งออกเป็น 3 หมวดหลักตามแนวคิดของ Hiller Spires ศาสตราจารย์ด้านทักษะการใช้เทคโนโลยี จากมหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนาสเตต (North Carolina State University) ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นกรอบแนวคิดที่ได้รับการยอมรับและนำไปใช้อ้างอิงอย่างแพร่หลาย ดังนี้

  1. การค้นหาและบริโภคเนื้อหาดิจิทัล (Finding and consuming digital content)หมวดนี้เน้นความสามารถในการเข้าถึง ค้นหา ประเมิน และใช้งานข้อมูล รวมถึงเนื้อหาต่าง ๆ ที่อยู่ในรูปแบบดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากแหล่งที่น่าเชื่อถือและประเมินความถูกต้องของข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. การสร้างเนื้อหาดิจิทัล (Creating digital content) หมวดนี้เน้นความสามารถในการสร้างสรรค์และการใช้เครื่องมือดิจิทัลเพื่อออกแบบและแก้ไขเนื้อหาดิจิทัลในรูปแบบต่าง ๆ เช่น บทความ วิดีโอ อินโฟกราฟิก และมัลติมีเดีย ที่มีคุณค่าและสอดคล้องกับจริยธรรมทางดิจิทัล
  3. การสื่อสารและแบ่งปันเนื้อหาดิจิทัล (Communicating or sharing it) หมวดนี้เน้นความสามารถในการสื่อสาร หรือการใช้แพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อแลกเปลี่ยนและแบ่งปันข้อมูล ความคิด และเนื้อหาต่าง ๆ กับผู้อื่นให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายผ่านช่องทางดิจิทัลอย่างเหมาะสม ปลอดภัย และมีความรับผิดชอบ

การทำความเข้าใจใน 3 หมวดหลักนี้ จึงเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะนำไปสู่การพัฒนาทักษะดิจิทัลให้เท่าทันโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน

แล้วการมี Digital Literacy ต้องมีทักษะอะไรบ้าง?

Digital Literacy คือทักษะสำคัญในยุคดิจิทัลที่ทุกคนควรมี เพื่อให้สามารถใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลผ่านอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ และปลอดภัยไปด้วย ซึ่งการมี Digital Literacy ที่ดีไม่ได้เกิดขึ้นได้เอง แต่ต้องมาจากการพัฒนาและฝึกฝนทักษะในหลากหลายด้านควบคู่กัน โดยมีทักษะสำคัญ 8 อย่างด้วยกันดังนี้

1. ทักษะการใช้เทคโนโลยีพื้นฐาน (Basic Digital Skills)
  • สามารถใช้อุปกรณ์ดิจิทัลต่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตได้อย่างคล่องแคล่ว
  • สามารถใช้โปรแกรมพื้นฐาน เช่น Microsoft Office, Google Docs, และ Email ในการทำงานได้
  • เข้าใจการตั้งค่าและบำรุงรักษาอุปกรณ์ดิจิทัลต่าง ๆ เพื่อยืดอายุการใช้งาน
2. ทักษะการสืบค้นและประเมินข้อมูล (Information Literacy)
  • ค้นหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม
  • แยกแยะข่าวปลอม (Fake News) และข้อมูลที่เชื่อถือได้
  • เข้าใจแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เช่น เว็บไซต์ที่มีความน่าเชื่อถือ ฐานข้อมูลวิชาการ
3. ทักษะความปลอดภัยทางดิจิทัล (Cybersecurity & Privacy Awareness)
  • รู้จักการตั้งค่าความเป็นส่วนตัว (Privacy Settings) เพื่อป้องกันข้อมูลส่วนตัว
  • ใช้รหัสผ่านที่ปลอดภัยและจัดการบัญชีออนไลน์ได้อย่างเหมาะสม
  • ตระหนักถึงภัยคุกคามออนไลน์ เช่น ฟิชชิ่ง (Phishing) และมัลแวร์ (Malware)
4. ทักษะการสื่อสารออนไลน์ (Digital Communication)
  • ใช้โซเชียลมีเดียและอีเมลในการติดต่ออย่างเหมาะสม
  • เข้าใจมารยาทในโลกออนไลน์เพื่อการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
  • สามารถทำงานร่วมกันผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ เช่น Google Drive, Microsoft Teams ได้
5. ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking)
  • วิเคราะห์ข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตอย่างรอบคอบ
  • ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลก่อนเชื่อหรือแชร์
  • ระวังอคติทางดิจิทัล (Algorithm Bias) และ Filter Bubble ที่อาจทำให้เรามองเห็นแต่สิ่งที่ตรงกับความคิดของตัวเองเท่านั้น
6. ทักษะการสร้างเนื้อหาดิจิทัล (Digital Content Creation)
  • สามารถใช้เครื่องมือเพื่อสร้างสรรค์เนื้อหาดิจิทัลได้ เช่น Canva, Photoshop, Premiere Pro, CapCut เป็นต้น
  • สามารถสร้างเนื้อหาผ่านบทความ บล็อก หรือโพสต์บนโซเชียลมีเดีย เพื่อสื่อสารข้อมูลหรือความรู้ให้กับผู้อ่านได้อย่างเหมาะสม
  • เข้าใจเรื่องลิขสิทธิ์ดิจิทัลและการใช้เนื้อหาภายใต้ Creative Commons
7. ทักษะการบริหารจัดการตัวตนออนไลน์ (Digital Identity Management)
  • สร้างและรักษาภาพลักษณ์ดิจิทัลที่ดี เพื่อสะท้อนภาพลักษณ์ในโลกออนไลน์
  • เข้าใจผลกระทบจากข้อมูลที่โพสต์ออนไลน์ที่อาจส่งผลต่อชีวิตจริง
  • ใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์ในการสร้างเครือข่ายและโอกาสทางอาชีพ
8. ทักษะการเรียนรู้และปรับตัวทางดิจิทัล (Digital Adaptability & Lifelong Learning)
  • เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่องและไม่หยุดพัฒนา
  • ใช้แหล่งเรียนรู้ เช่น คอร์สออนไลน์จาก YouTube, Coursera หรือแพลตฟอร์มอื่น ๆ
  • ปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในเทคโนโลยีและโลกดิจิทัล

การพัฒนาทักษะเหล่านี้จะช่วยเสริมสร้าง Digital Literacy ที่แข็งแกร่ง ซึ่งทำให้เราสามารถใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด พร้อมทั้งเติบโตไปกับการพัฒนาทางดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง โดยทั้ง 8 ทักษะที่กล่าวถึงไม่เพียงแต่เป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้าง Digital Literacy ที่มีคุณภาพ แต่ยังช่วยให้เราใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมในทุกมิติของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การเรียนรู้ หรือการสื่อสารออนไลน์ ทำให้มีความมั่นใจในการใช้งานเทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น สามารถปรับตัวได้อย่างคล่องแคล่วในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและไม่หยุดนิ่ง

แหล่งอ้างอิง

Big Data Institute (Public Organization)

Share This News

Suggest Topics You'd Like to Read

Let us know what topics you’d like to read!
Your suggestions will help us create more engaging and relevant articles.

PDPA Icon

We use cookies to optimize your browsing experience and improve our website’s performance. Learn more at our Privacy Policy and adjust your cookie settings at Settings

Privacy Preferences

You can choose your cookie settings by turning on/off each type of cookie as needed, except for necessary cookies.

Accept all
Manage Consent Preferences
  • Strictly Necessary Cookies
    Always Active

    This type of cookie is essential for providing services on the website of the Personal Data Protection Committee Office, allowing you to access various parts of the site. It also helps remember information you have previously provided through the website. Disabling this type of cookie will result in your inability to use key services of the Personal Data Protection Committee Office that require cookies to function.
    Cookies Details

  • Performance Cookies

    This type of cookie helps the Big Data Institute (Public Organization) understand user interactions with its website services, including which pages or areas of the site are most popular, as well as analyze other related data. The Big Data Institute (Public Organization) also uses this information to improve website performance and gain a better understanding of user behavior. Although the data collected by these cookies is non-identifiable and used solely for statistical analysis, disabling them will prevent the Big Data Institute (Public Organization) from knowing the number of website visitors and from evaluating the quality of its services.

  • Functional Cookies

    This type of cookie enables the Big Data Institute (Public Organization)’s website to remember the choices you have made and deliver enhanced features and content tailored to your usage. For example, it can remember your username or changes you have made to font sizes or other customizable settings on the page. Disabling these cookies may result in the website not functioning properly.

  • Targeting Cookies

    "This type of cookie helps the Big Data Institute (Public Organization) understand user interactions with its website services, including which pages or areas of the site are most popular, as well as analyze other related data. The Big Data Institute (Public Organization) also uses this information to improve website performance and gain a better understanding of user behavior. Although the data collected by these cookies is non-identifiable and used solely for statistical analysis, disabling them will prevent the Big Data Institute (Public Organization) from knowing the number of website visitors and from evaluating the quality of its services.

Save settings
This site is registered on wpml.org as a development site. Switch to a production site key to remove this banner.