ความปลอดภัยกับความเป็นส่วนตัว : การหาจุดร่วมเพื่อควบคุมไวรัสโคโรนา

ความปลอดภัยกับความเป็นส่วนตัว : การหาจุดร่วมเพื่อควบคุมไวรัสโคโรนา

05 May 2020

การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาในทั่วโลกสร้างความเสียหายต่อชีวิตผู้คนและเศรษฐกิจอย่างรุนแรงและมหาศาล ถึงแม้ตอนนี้รัฐบาลดูเหมือนจะควบคุมตัวเลขผู้ป่วยได้หลังจากที่ปิดประเทศไปแล้ว แต่ว่าความเป็นไปได้ที่เชื้อโรคนั้นจะกลับมายังมีอยู่หากกลับมาเปิดอีกครั้งหนึ่ง การแก้ไขปัญหาอย่างการหยุดกิจกรรมทั้งประเทศเป็นมาตรการที่ส่งผลดีต่อจำนวนผู้ป่วย แต่ก็สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจที่ไม่ว่ารัฐบาลไหนก็ไม่อยากให้เกิดขึ้นอีก รัฐบาลจึงจำเป็นจะต้องเปิดประเทศและจำเป็นต้องหาทางสกัดกั้นลูกโซ่ของการแพร่ระบาดแทน และต้องยื้อเวลาจนกว่าที่วัคซีนจะถูกค้นพบ การใช้เทคโนโลยีติดตามบุคคลเพื่อการควบคุมโรคจึงเป็นเครื่องมือที่รัฐบาลสนใจ วันนี้ เราจะมาตรวจสอบกันว่าทำไมเครื่องมือนี้ถึงถูกเลือก อะไรเป็นข้อควรระวังต่อการใช้เทคโนโลยีนี้ และรัฐบาลแต่ละประเทศมีความคิดเห็นต่อเรื่องนี้แตกต่างกันอย่างไร

ความเร็วและข้อมูลของผู้เดินทางคือหัวใจในการปราบไวรัส

สิ่งที่น่ากลัวของการแพร่ระบาดไวรัสโคโรนาคือความเร็วของการแพร่ระบาด การแพร่กระจายเชื้อโรคนี้เป็นไปในอัตราก้าวหน้า การรู้แหล่งแพร่เชื้อก่อนหรือการกักตัวผู้ป่วยก่อนจะทำให้เราสามารถลดจำนวนผู้ป่วยไปเป็นจำนวนมหาศาล ดังในตัวอย่างของประเทศที่ประสบความสำเร็จอย่างไต้หวันที่มีประสบการณ์การต่อสู้กับโรคซาร์ส ไต้หวันได้ทำการปิดทางเข้าประเทศทั้งทางเรือและทางอากาศตั้งแต่ต้นเดือนมกราคมและสนับสนุนเครื่องมือป้องกันไวรัสให้แก่ประชาชน สิ่งเหล่านี้ช่วยให้จำนวนผู้ป่วยลดลงอย่างต่อเนื่องจนทางรัฐบาลไม่พบผู้ป่วยใหม่เป็นเวลาหลายวันติดต่อกัน (สถิติวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2563) นี่เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าหากรัฐบาลสามารถระบุต้นตอของโรคได้ไว ก็จะสกัดการแพร่ระบาดเชื้อได้ไวเช่นเดียวกัน

ภาพที่ 1 เจ้าหน้าที่สาธารณะสุขพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อให้กับประชาชนในประเทศจีน (แหล่งที่มา Business Insider)

อีกหนึ่งตัวอย่างที่รัฐบาลต้องการที่จะหยุดต้นตอการระบาดของเชื้อโรคคือประเทศจีน มาตรการการควบคุมประชากรของจีนนั้น (อ้างอิงจากแหล่งข่าว Business Insider) มีแนวคิดที่ว่ารัฐบาลสั่งให้ประชาชนให้ปฏิบัติตามคำสั่งอย่างเคร่งครัด ถึงแม้จะมีมาตรการที่ค่อนข้างสุดโต่งที่ประเทศอื่น ๆ อาจนำมาปฏิบัติได้ยาก ยกตัวอย่างเช่น การห้ามการสัญจรในพื้นที่สาธารณะ การบังคับประชาชนให้เปิดเผยเส้นทางการเดินทางผ่านพื้นที่เสี่ยง การติดตั้งแอปพลิเคชันบันทึกเส้นทางการเดินทาง เป็นต้น แต่มาตรการดังกล่าวได้มอบข้อมูลที่ระบุถึงเส้นทางการติดเชื้อของประชาชนทำให้เจ้าหน้าที่สามารถจัดการแหล่งแพร่เชื้ออย่างมีประสิทธิภาพและสามารถควบคุมผู้ติดเชื้อในประเทศได้อย่างอยู่หมัด ถึงแม้ว่ารัฐบาลต้องทำงานในสภาวะที่ผู้ติดเชื้อมีจำนวนค่อนข้างสูงแล้วก็ตาม

สิ่งที่ต้องแลกกับข้อมูลส่วนตัว

ประเทศผู้นำเทคโนโลยีอย่างเกาหลีใต้ก็ประสบความสำเร็จในการควบคุมตัวเลขผู้ติดเชื้อเช่นกัน โดยอาศัยความช่วยเหลือจากเทคโนโลยีดิจิตัลรูปแบบต่าง ๆ หนึ่งในเทคโนโลยีดังกล่าวคือแอปพลิเคชันติดตามและบันทึกเส้นทางการเดินทางของผู้ใช้งาน รูปแบบการใช้งานคือการเฝ้าระวังไม่ให้ผู้ใช้งานไปอยู่ในพื้นที่เสี่ยง และสามารถออกหมายจับได้ถ้าผู้ใช้งานฝ่าฝืน ด้วยลักษณะการทำงานของแอปพลิเคชันนี้ การเก็บข้อมูลจึงมีลักษณะรวมศูนย์หรือข้อมูลทั้งหมดอยู่รัฐบาล อย่างไรก็ดี รัฐบาลจะเปิดเผยข้อมูลเฉพาะของผู้ป่วยในลักษณะที่ไม่เปิดเผยตัวตนบนเว็ปไซต์ของกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการเพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลที่ถูกเก็บไปนั้นถูกนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการควบคุมโรคเท่านั้น แต่ว่าก็ยังมีผู้ไม่หวังดีได้สืบสาวข้อมูลดังกล่าวของผู้ป่วย ทำให้สามารถระบุตัวตนของผู้ป่วยและทำให้ผู้ป่วยไม่ได้รับความเป็นส่วนตัวกระทั่งได้รับความเดือดร้อนในที่สุด นั่นจึงทำให้เกิดคำถามขึ้นว่า  เราควรให้ความสำคัญกับข้อมูลส่วนตัวของเรามากขนาดไหนเพื่อให้สังคมนั้นปลอดภัยทั้งจากข้อมูลที่รั่วไหลและจากเชื้อโรคตัวนี้

ความปลอดภัยหรือความเป็นส่วนตัว?

อาจกล่าวได้ว่าความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยในสังคมเป็นสองขั้วที่อยู่ตรงข้ามกัน ในแง่หนึ่งการจัดการเชื้อโรคจำเป็นที่จะต้องรู้แหล่งของโรคและจะต้องควบคุมผู้ที่ติดเชื้อให้ได้ไวที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะยิ่งควบคุมแหล่งแพร่เชื้อได้ไวเท่าไหร่ การแพร่เชื้อก็จะจำกัดมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้นข้อมูลเส้นทางของแต่ละคนจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น แต่ในทางกลับกัน ความเป็นส่วนตัวของประชาชนก็เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ ความเป็นส่วนตัวถือเป็นธรรมชาติของมนุษย์ เราทุกคนต่างมีความลับบางอย่างหรือพื้นที่ส่วนตัวที่ไม่ต้องการให้ใครเข้าได้ เราต่างล็อคบ้านของตัวเองก่อนเข้านอน เราต่างใช้พาสเวิร์ดในการเข้าใช้อีเมล หากมีอำนาจใดที่มีความชอบธรรมในการล่วงรู้ข้อมูลส่วนตัวของทุกคน อำนาจนั้นอาจถูกใช้โดนทางที่ผิดและส่งผลต่อความปลอดภัยของปัจเจกบุคคลได้ในที่สุด เพราะฉะนั้นข้อมูลส่วนตัวจึงสำคัญไม่แพ้กัน

การจัดการความสัมพันธ์ระหว่างสองความคิดนี้จึงเป็นคำถามที่รัฐบาลแต่ละประเทศจะต้องชั่งน้ำหนักให้ดี หากเลือกทางใดทางหนึ่งมากเกินไปอาจก่อให้เกิดปัญหาจากอีกทางหนึ่งได้

บริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่คือทางออก?

ภาพที่ 2 Apple และ Google ร่วมมือพัฒนาระบบมือถือเพื่อบันทึกผู้มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน (แหล่งที่มา Apple)

เพื่อยุติข้อขัดแย้งระหว่างทางสองแพร่งนี้ ทาง Apple และ Google ได้ออกประกาศร่วมกันในการพัฒนาฟังก์ชันของโทรศัพท์มือถือที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Android และ iOS ให้สามารถติดต่อกันผ่านเทคโนโลยีเชื่อมต่อระยะสั้น”บลูทูธ” (Bluetooth) ในทางระยะแรกนี้ ทางบริษัทจะพัฒนาหน้าต่างเรียกข้อมูล (Application Programming Interface – API) ให้กับผู้พัฒนาแอปพลิเคชันทั่วไป ก่อนที่จะพัฒนาให้ติดตั้งอยู่ในโทรศัพท์มือถือของแต่ละคน และเมื่อเปิดใช้งาน และจะเปิดเผยข้อมูลอย่างสาธารณะเพื่อให้ผู้ที่สนใจนำข้อมูลไปวิเคราะห์และต่อยอดได้ ทั้งหมดนี้ ทางบริษัทได้ยึดถือความเป็นส่วนตัวของข้อมูลเป็นหลัก และพร้อมที่จะทำงานกับรัฐบาลและกระทรวงสาธารณะสุขของแต่ละประเทศ

ทวีปที่ไร้พรมแดนกับไวรัสที่ต้องเผชิญ

ภาพที่ 3 สถานการณ์การแพร่ระบาดยังน่ากังวลในทวีปยุโรป (แหล่งที่มา Pexels)

ถึงแม้ว่าทางฝั่งของทวีปยุโรปได้ตื่นตัวกับการควบคุมไวรัสช้าไปสักหน่อย แต่เมื่อจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นการใช้เทคโนโลยีอย่างแอปพลิเคชันบันทึกผู้ติดต่อจึงเป็นทางเลือกที่ค่อนข้างถูกกว่าและมีประสิทธิภาพกว่า ในตอนนี้แต่ละประเทศในทวีปยุโรปต่างเดินหน้าผลิตแอปพลิเคชันเป็นของตัวเอง ในขณะที่ประเทศเยอรมนีเห็นว่าการผลิตแอปพลิเคชันเดียวเพื่อใช้ในทวีปยุโรปทั้งหมดจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า เนื่องจากพื้นที่ในทวีปยุโรปนั้นไร้เส้นแบ่งดินแดน ผู้อาศัยในทวีปยุโรปต่างสามารถเข้าออกแต่ละประเทศได้อย่างเสรี การใช้เพียงหนึ่งแอปพลิเคชันจะลดความซ้ำซ้อนของการติดตั้งและป้องกันการรั่วไหลของข้อมูล

อีกสิ่งที่ทางทวีปยุโรปให้ความสำคัญคือการรักษาความเป็นส่วนตัวของข้อมูล คณะกรรมมาธิการยุโรป (European Commission) ได้วางแนวทางการสร้างแอพบันทึกผู้ติดต่อโดยคำนึงหลักการไว้อยู่หลายข้อ โดยหลัก ๆ  แล้วคือฟังก์ชันของแอพนี้ต้องเป็นการเก็บบันทึกข้อมูลการติดต่อของบุคคลโดยใช้บลูทูธ (Bluetooth) และการแจ้งเตือนผู้ที่ติดต่อกับคนที่ได้รับเชื้อโคโรนาไวรัส การไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานรวมถึงการไม่ระบุตัวผู้ป่วยต่อผู้ที่มีความเสี่ยง และต้องลบข้อมูลผู้ติดต่อหากเกินระยะเวลาที่กำหนด ด้วยแนวทางเหล่านี้ ทางคณะกรรมาธิการยุโรปยืนยันว่าปลอดความเสี่ยงที่จะถูกคุกคามความเป็นส่วนตัวของข้อมูล

แต่ประเด็นการรวมข้อมูลอยู่ที่ศูนย์กลางยังเป็นสิ่งที่ถกเถียงอยู่ในตอนนี้ ล่าสุดประเทศอังกฤษและฝรั่งเศสสนับสนุนการเก็บข้อมูลเข้าสู่ส่วนกลาง เพราะการกระจายกำลังการต่อต้านโรคมีประสิทธิภาพมากกว่า ในขณะที่ ประเทศเยอรมนีได้สนับสนุนแนวทางการดำเนินงานของ Google และ Apple ที่ไม่ต้องการเก็บข้อมูลส่วนตัวของแต่ละคนเข้าสู่ส่วนกลาง เพราะประเด็นที่สำคัญของการใช้แอปพลิเคชันดังกล่าวคือการระบุถึงแหล่งที่มาของเชื้อและทะลายห่วงโซ่ของการระบาดอย่างเร็วที่สุด การรวมข้อมูลเข้าสู่ศูนย์กลางจึงเป็นเรื่องที่ไม่จำเป็น อย่างไรก็ดี นักวิทยาศาสตร์ชาวยุโรปได้ออกมาเตือนถึงเรื่องนี้ผ่านการเขียนจดหมายเปิดผนึกโดยได้ใจความว่า หากมีการเก็บข้อมูลเข้าสู่ส่วนกลาง จะเกิด “การสอดแนมมวลชน” อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

ผู้นำทางเทคโนโลยีกับกฎหมายที่ล้าหลัง

ภาพที่ 4 บริษัทเทคโนโลยีชนาดใหญ่ของสหรัฐ Google, Apple, Facebook, Amazon, และ Microsoft – GAFAM (แหล่งที่มา Knolscape)

ในประเทศสหรัฐอเมริกาเอง กลุ่มบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำของโลกยกตัวอย่างเช่น Google, Amazon, Facebook, Apple และ Microsoft มีข้อมูลประชาชนสหรัฐเป็นจำนวนมาก ข้อมูลเหล่าสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยยับยั้งการแพร่ระบาดของไวรัสได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อมูลการเดินทางของผู้คนในสหรัฐ แต่ว่าทางรัฐสภาสหรัฐยังไม่มีกฎหมายออกมาอย่างแน่ชัดสำหรับการจัดการข้อมูลส่วนตัว ความล่าช้าของกระบวนการร่างกฎหมายฉบับนี้ทำให้การช่วยเหลือทางด้านข้อมูลส่วนบุคคลของ บริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่เหล่านี้ยังไม่ได้ถูกใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เบื้องต้นรัฐบาลสหรัฐขอให้กลุ่มบริษัทเทคโนโลยีเหล่านี้ยื่นข้อมูลที่ไม่เปิดเผยชื่อโดยเฉพาะข้อมูลการเคลื่อนที่โทรศัพท์มือถือของประชาชน กฎหมายควบคุมข้อมูลสาธารณะนี้สำคัญเพราะจะเป็นตัวกำหนดว่าการใช้ข้อมูลในเรื่องหนึ่งควรให้ความสำคัญกับส่วนรวมมากกว่าสิทธิส่วนบุคคล และนำไปสู่การบังคับใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

บทสรุปจากทั่วโลก

โดยสรุปแล้ว รัฐบาลแต่ละประเทศต่างดำเนินแนวทางในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน ในขณะที่บางประเทศได้ดำเนินการใช้นโยบายไปบ้างแล้ว บางประเทศก็ยังถกเถียงเพื่อหาจุดลงตัวระหว่างความปลอดภัยในสังคมและความเป็นส่วนตัวของประชาชน นี่อาจเป็นคำถามใหญ่ต่อความเป็นส่วนตัวของข้อมูลของเราก็ได้ว่าจำเป็นต้องเสียสละสิ่งนี้มากเพียงใดเพื่อใช้ในการรักษาความปลอดภัยในประเทศ ถือเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องถ่วงดุลตาชั่งนี้ให้ดี

Share This News

Suggest Topics You'd Like to Read

Let us know what topics you’d like to read!
Your suggestions will help us create more engaging and relevant articles.

PDPA Icon

We use cookies to optimize your browsing experience and improve our website’s performance. Learn more at our Privacy Policy and adjust your cookie settings at Settings

Privacy Preferences

You can choose your cookie settings by turning on/off each type of cookie as needed, except for necessary cookies.

Accept all
Manage Consent Preferences
  • Strictly Necessary Cookies
    Always Active

    This type of cookie is essential for providing services on the website of the Personal Data Protection Committee Office, allowing you to access various parts of the site. It also helps remember information you have previously provided through the website. Disabling this type of cookie will result in your inability to use key services of the Personal Data Protection Committee Office that require cookies to function.
    Cookies Details

  • Performance Cookies

    This type of cookie helps the Big Data Institute (Public Organization) understand user interactions with its website services, including which pages or areas of the site are most popular, as well as analyze other related data. The Big Data Institute (Public Organization) also uses this information to improve website performance and gain a better understanding of user behavior. Although the data collected by these cookies is non-identifiable and used solely for statistical analysis, disabling them will prevent the Big Data Institute (Public Organization) from knowing the number of website visitors and from evaluating the quality of its services.

  • Functional Cookies

    This type of cookie enables the Big Data Institute (Public Organization)’s website to remember the choices you have made and deliver enhanced features and content tailored to your usage. For example, it can remember your username or changes you have made to font sizes or other customizable settings on the page. Disabling these cookies may result in the website not functioning properly.

  • Targeting Cookies

    "This type of cookie helps the Big Data Institute (Public Organization) understand user interactions with its website services, including which pages or areas of the site are most popular, as well as analyze other related data. The Big Data Institute (Public Organization) also uses this information to improve website performance and gain a better understanding of user behavior. Although the data collected by these cookies is non-identifiable and used solely for statistical analysis, disabling them will prevent the Big Data Institute (Public Organization) from knowing the number of website visitors and from evaluating the quality of its services.

Save settings
This site is registered on wpml.org as a development site. Switch to a production site key to remove this banner.